การพัฒนาและการวัดประสิทธิภาพระบบจัดการและค้นหาสินทรัพย์ ด้วยคิวอาร์โค้ด

The Development and Evaluation of Asset Management System with QR Code

บทคัดย่อ

     ระบบจัดการและค้นหาสินทรัพย์ด้วยคิวอาร์โค้ด ถูกพัฒนาเพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหาสินทรัพย์ของบริษัทคาเนมิทสึพูลเล่ย์ จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์งานวิจัย คือ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาของระบบจัดการทะเบียนสินทรัพย์ปัจจุบันด้วยแผนภูมิก้างปลา และ พัฒนาระบบจัดการและค้นหาสินทรัพย์ ด้วยคิวอาร์โค้ด รวมทั้งทดสอบประสิทธิภาพของระบบจัดการและค้นหาสินทรัพย์ด้วยคิวอาร์โค้ดโดยต้องการทราบถึงข้อมูลสินทรัพย์ การค้นหาข้อมูลสินทรัพย์ที่มีอยู่ด้วยระบบเดิมมีความล่าช้าและใช้เวลานาน ส่งผลต่อการคํานวณค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์และกระทบต่อการคำนวณงบการเงินของบริษัท ผู้วิจัยได้วิเคราะห์   ระบบเดิมเพื่อหาสาเหตุของปัญหา และพัฒนาระบบใหม่เพื่อแทนที่ระบบเดิม แผนภูมิก้างปลา (Fish Bone Diagram) ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือหาสาเหตุของปัญหาของระบบเดิม ระบบใหม่ที่พัฒนาขึ้นได้ประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ดเพื่อความถูกต้องและความรวดเร็วในการใช้งานระบบ ระบบที่พัฒนามีการวัดประสิทธิภาพของระบบในสองด้าน คือ ด้านเวลาในการค้นหาสินทรัพย์เปรียบเทียบระหว่างระบบเดิมกับระบบที่พัฒนาขึ้น และด้านประสิทธิภาพของระบบโดยผู้ใช้งานด้วยการแจกแบบสอบถามพนักงานที่ใช้ระบบจำนวน 200 ชุด ผลการประเมินประสิทธิภาพพบว่าการค้นหาสินทรัพย์ด้วยระบบเดิม 1 ชิ้นใช้เวลาเฉลี่ย 40 นาที แต่การค้นหาด้วยระบบที่พัฒนาขึ้นใช้เวลาเพียง 1 นาที นอกจากนั้นผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพโดยผู้ใช้พบว่า ผู้ใช้งานให้คะแนนกับประสิทธิภาพของสติ๊กเกอร์คิวอาร์โค้ดมากที่สุด คือความเร็วในการสแกน รองลงมาคือประสิทธิภาพของโปรแกรมด้านการใช้งานที่สะดวก ง่าย ไม่ซับซ้อน และอันดับสุดท้ายคือประสิทธิภาพด้านอื่นๆ เช่น การลดค่าใช้จ่าย ลดปริมาณเอกสารและลดเวลา

Abstract

        Asset management system with QR code was developed to facilitate the asset information search for Kanemitsu Pulley Company, Limited. The objectives of this study were to analyze the problems of the current asset management system with a fishbone chart, to develop the Asset Management System with QR Code and to evaluate the efficiency of the developed system. By searching those existing assets with the current procedure was slow and time consuming. This affected the calculation of depreciation of assets as well as the company's financial statements. In this study, the asset search of the current procedure had been investigated to discover the root cause of the problem. The Fish Bone Diagram was adopted as a tool for root cause investigation. Then, a new system was designed and developed to replace the current one. QR codes was implemented for improving accuracy and speed of the developed system. The performance of the developed system was measured in two aspects:         1) asset search time comparing between the current procedure and the developed systems, and 2) performance score obtained from the 200 questionnaires distributed to employees used the system. For the first aspect, the efficiency result showed that the average search time for each asset item that applied the current procedure, and the developed system took 40 minutes and 1minute, respectively. For the second aspect, ranking of performance score founded highest score in the QR code sticker performances (the speed of scanning), the second rank performance score was program performance (system’s ease of use) and the third rank performance score was other performance (cost, document, and time reduction).

ดาวน์โหลด Full Paper