ข้อกำหนดทั่วไปของบทความ
1) บทความที่นำเสนอจะต้องมีสาระที่น่าสนใจ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เป็นองค์ความรู้ใหม่ หรือนำเสนอองค์ความรู้เดิมในมุมมองใหม่ ไม่เคยถูกนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่นใด ประเภทบทความที่จะรับไว้พิจารณา ได้แก่ บทความวิจัย บทความวิชาการ บทความปริทัศน์ และบทความแนะนำหนังสือทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ศิลปศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2) บทความที่นำเสนอในแต่ละประเภทมีลักษณะดังต่อไปนี้
2.1) บทความวิจัย (Research article) เป็นบทความที่นำเสนอผลการดำเนินการวิจัยอย่างเป็นระบบ และได้บรรลุวัตถุประสงค์ของการวิจัย ประกอบด้วย ชื่อเรื่องและรายละเอียดผู้เขียน และเนื้อหางานวิจัย ซึ่งประกอบไปด้วย บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์การวิจัย สมมติฐาน (ถ้ามี) ขอบเขตการวิจัย ทบทวนวรรณกรรม กรอบแนวคิดในการวิจัย (ถ้ามี) วิธีดำเนินการวิจัย เครื่องมือในการวิจัย ผลการวิจัย สรุปอภิปรายผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ และเอกสารอ้างอิง ทั้งนี้ผู้เขียนบทความจะต้องกำหนดคำสำคัญ (Keyword) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างละ 3-5 คำ ไว้ท้ายบทคัดย่อแต่ละภาษา
2.2) บทความทางวิชาการ (Academic article) เป็นงานเขียนทางวิชาการซึ่งมีการกำหนดประเด็นที่ต้องการอธิบายหรือวิเคราะห์อย่างชัดเจน ทั้งนี้ มีการวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าวตามหลักวิชาการโดยมีการสำรวจวรรณกรรมเพื่อสนับสนุนจนสามารถสรุปผลการวิเคราะห์ในประเด็นนั้นได้ อาจเป็นการนำความรู้จากแหล่งต่างๆ มาประมวลร้อยเรียงเพื่อวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยผู้เขียนแสดงทัศนะทางวิชาการของตนไว้อย่างชัดเจนด้วย บทความทางวิชาการ ประกอบไปด้วย ชื่อเรื่องและรายละเอียดผู้เขียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทนำ วัตถุประสงค์ เนื้อหา บทสรุป และเอกสารอ้างอิง ทั้งนี้ผู้เขียนบทความจะต้องกำหนดคำสำคัญ (Keyword) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อย่างละ 3-5 คำ ไว้ท้ายบทคัดย่อแต่ละภาษา
2.3) บทความปริทัศน์ (Review article) เป็นบทความที่เขียนจากการรวบรวมความรู้ในเรื่องที่น่าสนใจในปัจจุบันเรื่องใดเรื่องหนึ่งผ่านกระบวนการ วิเคราะห์ สังเคราะห์ เปรียบเทียบ และ/หรือ วิจารณ์ เพื่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้ในมุมมองใหม่ ประกอบด้วย ชื่อเรื่องและรายละเอียดผู้เขียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทนำ เนื้อหา บทวิจารณ์ บทสรุป และเอกสารอ้างอิง
2.4) บทความแนะนำหนังสือ เป็นบทความที่เขียนสรุปสาระสำคัญของหนังสือ พร้อมมีข้อวิจารณ์หรือความคิดเห็นตามสมควร ทั้งนี้ให้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ และพิมพลักษณ์
3) ต้นฉบับมีความยาวประมาณ 15-17 หน้ากระดาษ เอ 4 (รวมรายการอ้างอิง) สำหรับบทความวิจัย 12-15 หน้ากระดาษ เอ 4 (รวมรายการอ้างอิง) สำหรับบทความวิชาการและบทความปริทัศน์ ส่วนบทความแนะนำหนังสือ ความยาวไม่เกิน 10 หน้ากระดาษ เอ 4
4) บทความมีการอ้างอิงในเนื้อหาระบบนาม-ปี และมีการเขียนรายการบรรณานุกรมท้ายบทความ โดยใช้รูปแบบ American Psychological Association (APA 6th edition)
การส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์
สามารถส่งบทความเป็นไฟล์ word นามสกุล .doc หรือ .docx พร้อมกับแนบไฟล์ pdf เพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฯ ได้ที่ http://rilj.rsu.ac.th/
วารสารรังสิตสารสนเทศ ได้รับรองคุณภาพมาตรฐานโดยได้บรรจุในฐานข้อมูลศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่ม 2 เรียบร้อยแล้ว จึงกำหนดอัตราการเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความวารสารรังสิตสารสนเทศ บทความละ 3,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป
การดำเนินการของกองบรรณาธิการ
1) บทความจะต้องอยู่ในขอบข่ายการตีพิมพ์ของวารสารฯ ต้องมีคุณค่าทางวิชาการ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เนื้อหาสมบูรณ์ ถูกต้อง ชัดเจน และมีการอ้างอิงและการเขียนบรรณานุกรมอย่างถูกต้อง
2) บทความต้องได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อยจำนวน 3 คน และ/หรือ ผ่านการพิจารณาจากกองบรรณาธิการเป็นรายกรณี
3) สำหรับบทความที่ได้รับการพิจารณาให้ตีพิมพ์อย่างมีเงื่อนไข ผู้เขียนบทความนั้นต้องดำเนินการแก้ไขให้เสร็จสมบูรณ์ภายในระยะเวลาที่กองบรรณาธิการกำหนด เมื่อบทความได้ถูกตีพิมพ์ในวารสารฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว บทความดังกล่าวจะถูกนำไปเผยแพร่บนเว็บไซต์ของวารสารฯ ด้วย และเจ้าของบทความจะได้รับเล่มวารสารฯ ที่มีบทความของตนอยู่ จำนวนบทความละ 1 เล่ม
คำแนะนำในการเขียนและการพิมพ์
ข้อกำหนดในการเตรียมต้นฉบับบทความ
1) ขนาดกระดาษ A 4
2) กรอบของข้อความ ในแต่ละหน้าให้มีขอบเขตดังนี้ จากขอบบนของกระดาษ 1.25 นิ้ว ขอบล่าง 1.0 นิ้ว ขอบซ้าย 1.25 นิ้ว ขอบขวา 1.0 นิ้ว
3) ระยะห่างระหว่างบรรทัด หนึ่งช่วงบรรทัดของเครื่องคอมพิวเตอร์ 6 point
4) จัดหน้าเป็นแบบ 1 คอลัมน์
5) ตัวอักษร ภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษรแบบ Cordia New และพิมพ์ตามที่กำหนดดังนี้
- ภาษาไทย ขนาด 18 point กำหนดตรงกลาง ตัวหนา
- ภาษาอังกฤษ (ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่) ขนาด 18 point กำหนดตรงกลาง ตัวหนา
- บทความจากวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของการศึกษา ให้ระบุข้อความไว้ที่ส่วนขยายใต้ชื่อผู้เขียน (ทุกคน) เช่น "บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง..." หรือ "บทความนี้ปรับปรุงจากวิทยานิพนธ์เรื่อง..." พร้อมระบุปริญญา สาขาวิชา สถาบัน และปี
- ชื่อผู้เขียน ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาด 14 point กำหนดชิดขวา
- ชื่อหน่วยงานของผู้เขียน ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาด 14 point กำหนดชิดซ้าย ตามด้วยอีเมล์
- ชื่อ “บทคัดย่อ” และ “Abstract” ขนาด 16 point กำหนดตรงกลาง ตัวหนา
- ข้อความบทคัดย่อภาษาไทย ขนาด 14 point กำหนดชิดขอบ ตัวธรรมดา
- ข้อความบทคัดย่อภาษาอังกฤษ ขนาด 14 point กำหนดชิดขอบ ตัวธรรมดา
- ย่อหน้า 0.5 นิ้ว
- ผู้เขียนต้องตรวจสอบความถูกต้องทางไวยากรณ์และการใช้ภาษาของบทคัดย่อเอง
- หัวข้อใหญ่ ขนาด 16 point กำหนดชิดซ้าย ตัวหนา (ไม่มีลำดับตัวเลข)
- หัวข้อรอง ขนาด 14 point กำหนดชิดซ้าย ตัวหนา
- ตัวอักษร ขนาด 16 point กำหนดชิดขอบ ตัวธรรมดา
- ย่อหน้า 0.5 นิ้ว
ส่วนประกอบของประเภทบทความ
ขอบเขตของการวิจัย ทบทวนวรรณกรรม กรอบแนวคิดในการวิจัย (ถ้ามี) วิธีดำเนินการวิจัย เครื่องมือในการวิจัย ผลการวิจัย สรุปอภิปรายผลการ วิจัย ข้อเสนอแนะ และเอกสารอ้างอิง
1) ในกรณีที่มีการอ้างอิงแทรกในเนื้อเรื่อง ให้ใช้การอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่องแบบระบบชื่อ-ปี (name-year system) โดยระบุชื่อผู้แต่งและปีพิมพ์ของเอกสาร ไว้ข้างหน้าหรือข้างท้ายข้อความที่ต้องการอ้าง เพื่อบอกแหล่งที่มาของข้อความนั้น
2) การอ้างอิงแทรกในตารางหรือในคำอธิบายตารางให้ใช้หมายเลขที่สอดคล้องกับที่ได้อ้างอิงมาก่อนแล้วในเนื้อหา
1) เอกสารอ้างอิงทุกลำดับจะต้องมีการอ้างอิงหรือกล่าวถึงในบทความ และผู้เขียนต้องรับผิดชอบความถูกต้องของเอกสารที่นำมาอ้างอิง
2) ถ้ารายละเอียดของเอกสารอ้างอิงมีความยาวมากกว่าหนึ่งบรรทัดให้พิมพ์ต่อบรรทัดถัดไปโดยย่อหน้า (โดยเว้นระยะ 7 ช่วงตัวอักษรหรือเริ่มพิมพ์ช่วงตัวอักษรที่ 8
3) จัดเรียงลำดับเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ หรือการเรียงบรรณานุกรมให้ใช้หลักการเดียวกับการเรียงคำในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หรือ Dictionary ที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป โดยคำที่มีตัวสะกดจัดเรียงไว้ก่อนคำที่มีรูปสระตามลำดับตั้งแต่ กก-กฮ และ AA-AZ
การจัดพิมพ์เอกสารอ้างอิงท้ายบทความจะแตกต่างกันตามชนิดของเอกสารที่นำมาอ้างอิง
โดยให้จัดพิมพ์ตามรูปแบบการเขียนบรรณานุกรมแบบ APA 6th edition ดังนี้
1. อ้างอิงจากหนังสือ ใช้รูปแบบดังนี้
ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง./ครั้งที่พิมพ์ (ถ้ามี) (พิมพ์ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป). /เมืองที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.
ตัวอย่าง
บุญเรียง ขจรศิลป์. (2539). วิธีวิจัย ทางการศึกษา Educational Research Methodology (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:
ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Kother, P., & Gary, A. (2003). Principles of Marketing (9th ed.). Boston: McGraw-Hill.
2. อ้างอิงจากวารสาร ใช้รูปแบบดังนี้
ชื่อ/ชื่อสกุลผู้เขียนบทความ./(ปีพิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร./ปีที่(ฉบับที่),/หน้าที่อ้าง.
ตัวอย่าง
อารีย์วรรณ สุทธิพงศ์พันธ์. (2561). การบริหารวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าตามแนวคิดคุณลักษณะความเป็นผู้นำ
ทางทหารและความมั่นคงของชาติในศตวรรษที่ 21. สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 9(2), 49-62.
Doran, K. (1996). Unified Disparity: Theory and Practice of Union Listing. Computer in Libraries, 16(1), 39-42.
3. อ้างอิงจากเอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการ/หนังสือรวมบทความวิชาการ ใช้รูปแบบดังนี้
ชื่อผู้เขียน./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความหรือชื่อตอน./ใน//ชื่อหนังสือ./ชื่อบรรณาธิการหรือชื่อผู้รวบรวม(ถ้ามี)./(หน้าที่ตีพิมพ์บทความหรือตอนนั้น)./ครั้งที่พิมพ์./สถานที่พิมพ์:/ชื่อสำนักพิมพ์หรือผู้จัดพิมพ์.
ตัวอย่าง
แม้นมาส ชวลิต. (2526). การก้าวเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของห้องสมุด. ใน เอกสารการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง ก้าวแรกของ
การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของห้องสมุด (หน้า 1-7). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Tichner, F. J. (1981). Apprenticship and Employee Training. In The New Encyclopedia Britannica, Macropedia
(V1, pp. 1018-1023). Chicago: Encyclopedia Britannica.
4. อ้างอิงจากปริญญานิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์ ใช้รูปแบบดังนี้
ชื่อผู้เขียน./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง./(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต หรือ Master’s thesis หรือ ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต หรือ Doctoral dissiertation)./สถานที่พิมพ์:/ชื่อมหาวิทยาลัย.
ตัวอย่าง
ดนัยศักดิ์ โกวิทวิบูล. (2543). ความต้องการและลักษณะการใช้สารนิเทศของนักศึกษาในสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Patamaporn Yenbamrung. (1992). The Emerging Electeronic Univesrsity: A Study of Student Cost-Effectiveness. (Doctoral dissiertation), TX: The University of Texas at Austin.
5. อ้างอิงจากแหล่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ ใช้รูปแบบดังนี้
5.1 ข้อมูลที่เป็นบทความจากวารสารออนไลน์
ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร./ปีที่(ฉบับที่),/หน้า(ถ้ามี)./สืบค้น วัน เดือน ปี, (หรือ Retrieved เดือน วัน, ปี),/ จาก(from) ชื่อเว็บไซต์.
ตัวอย่าง
พิษณุ กล้าการนา. (2545). เตรียมรับมือกับภาวะโลกร้อน. หมออนามัย, 11(6). สืบค้น 21 มิถุนายน 2560, จาก https://moph.go.th/ops/doctor/backreport.htm
Exon, A. (1987). Getting to Know the User Better. Aslib Proceedings, 30(6), 352-364. Retrieved October 12, 2008, from https://proquest.umi.com/pqdweb?did=731829191&sid=2&Fmt=2&clientId=83700&RQT=309& VName=PQD
5.2 ข้อมูลจากเว็บไซต์
ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์หรือปีที่สืบค้น)./ชื่อเรื่อง./สืบค้น วัน เดือน ปี (หรือ Retrieved เดือน วัน, ปี),/จาก(from) ชื่อเว็บไซต์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). กรอบทิศทางการพัฒนาการศึกษาตามแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2545 –
2559) ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554). สืบค้น 20 พฤศจิกายน
2550, จาก https://www.moe.go.th/webbpp/download/crisp_ direction.pps.
Barnard, J. P. (2000). A Study of Internet and Library Use in an Academic Setting. Arizona: Arizona State
University. Retrieved October 12, 2008, from https://proquest.umi.com/
pqdweb?did=731829191&sid=2&Fmt=2&clientId=83700&RQT=309&VName=PQD