จริยธรรมการพิมพ์ (Publication Ethics)

จรรยาบรรณของผู้เขียนบทความ

  1. ผู้เขียนบทความต้องมีความซื่อสัตย์และมีคุณธรรมทางวิชาการ ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่ลอกเลียน งานของผู้อื่น ต้องให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้
  2. ผู้เขียนบทความต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาที่ทำการศึกษาค้นคว้าอย่างเพียงพอและมีความรู้ความชำนาญหรือมีประสบการณ์เกี่ยวเนื่องกับเรื่องที่ทำ เพื่อนำไปสู่การเขียนบทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่มีคุณภาพ รวมถึงเพื่อป้องกันปัญหาการวิเคราะห์ การตีความ หรือการสรุปผล ที่ผิดพลาดอันอาจก่อให้เกิดความเสียหาย
  3. ผู้เขียนบทความโดยเฉพาะบทความวิจัย ต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัยไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบระมัดระวัง และเที่ยงตรงในการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคน สัตว์ พืช ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม มีจิตสำนึกและมีปณิธานที่จะอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม
  4. ผู้เขียนบทความต้องเคารพศักดิ์ศรีและสิทธิของมนุษย์ ต้องไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาการจนละเลยหรือขาดความเคารพในศักดิ์ศรีของเพื่อนมนุษย์ และต้องไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น
  1. ผู้เขียนบทความต้องมีอิสระทางความคิดโดยปราศจากอคติในทุกขั้นตอน ต้องตระหนักว่าอคติส่วนตนหรือความลำเอียงทางวิชาการอาจส่งผลให้มีการบิดเบือนข้อมูลและข้อค้นพบทางวิชาการ
  2. ผู้เขียนบทความพึงนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ มีจุดมุ่งหมายในการเผยแพร่ผลงานเพื่อประโยชน์ทางวิชาการและสังคม ไม่ขยายผลข้อค้นพบจนเกินความเป็นจริง ไม่ใช้ผลงานไปในทางมิชอบ
  3. ผู้เขียนบทความพึงเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น พร้อมที่จะเปิดเผยข้อมูลและขั้นตอนการดำเนินงาน ยอมรับฟังความคิดเห็นและเหตุผลทางวิชาการของผู้อื่น และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขผลงานของตนให้ถูกต้อง

จรรยาบรรณของผู้ทรงคุณวุฒิตรวจพิจารณาบทความ

  1. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องเป็นผู้ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียหรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนและ/หรือผลงานที่ทำการตรวจประเมิน และไม่เป็นบุคลากรในสถาบันหรือเคยสังกัดสถาบันที่เดียวกันกับผู้เขียน
  2. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องใช้ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในสาขาวิชาของตนอย่างเต็มกำลังความสามารถในการตรวจสอบบทความอย่างตรงไปตรงมาและมีมาตรฐานเดียวกัน โดยพิจารณาตั้งแต่ ชื่อเรื่อง วัตถุประสงค์ ความเป็นมา รายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ บนพื้นฐานความถูกต้องของระเบียบวิธีวิจัย ตลอดจนการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูล การตีความ การวิเคราะห์ การสรุปผล การอภิปรายผล รวมถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการทำผลงานนั้นๆ ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิต้องให้ความคิดเห็นอย่างเป็นกลางในเชิงสร้างสรรค์ โดยมุ่งหวังให้ผู้เขียนนำข้อเสนอแนะไปปรับปรุงแก้ไขผลงานของตนให้เกิดความถูกต้องและมีคุณภาพดียิ่งขึ้น
  3. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่เป็นผู้ที่กำลังทำหรือกำลังจะทำงานวิจัยหรือเขียนบทความวิชาการเรื่องเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันกับผู้เขียนบทความ
  4. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่เป็นผู้มีความเชื่อในเชิงทฤษฎีหรือในเชิงวิชาการส่วนตัวที่ขัดแย้งกันอย่างรุนแรงหรือกรณีอื่นๆ ที่ทำให้การตรวจประเมินอาจไม่เที่ยงตรงหรือมีอคติ
     

จรรยาบรรณของบรรณาธิการ

  1. บรรณาธิการพึงปฏิบัติภารกิจหลักในการจัดหาต้นฉบับบทความและเจรจากับผู้เขียน โดยพิจารณาบทความเบื้องต้นเกี่ยวกับ ชื่อเรื่อง ขอบเขต โครงสร้าง ความยาวของเนื้อหา ความถูกต้องของข้อมูล การบอกเล่าอย่างตรงไปตรงมา การอ้างอิงแหล่งข้อมูล การสื่อความได้ชัดเจน ให้ความรู้สึกถึงความน่าสนใจ รวมทั้งกลั่นกรองเบื้องต้นถึงข้อความ อันเป็นการใส่ร้ายดูหมิ่นอย่างร้ายแรง และการละเมิดลิขสิทธิ์             
  2. บรรณาธิการต้องวางใจเป็นกลาง ปราศจากอคติ ความลำเอียง และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียใดๆ กับผู้เขียนและผู้ทรงคุณวุฒิที่ทำหน้าที่ตรวจพิจารณาบทความ ทั้งนี้ บรรณาธิการต้องปกปิดมิให้ผู้เขียนและผู้ทรงคุณวุฒิทราบถึงตัวตนของกันและกัน
  3. บรรณาธิการพึงรับฟังความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับคุณภาพของบทความ และให้ความสำคัญต่อเนื้อหาอันมีประเด็นที่อาจก่อให้เกิดข้อโต้แย้งหรือข้อทักท้วงทั้งในทางวิชาการหรือทางกฎหมาย
  4. บรรณาธิการพึงรับผิดชอบต่อการตีพิมพ์เผยแพร่วารสารสู่สาธารณะ โดยการทำความตกลงกับผู้เขียนเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของแต่ละฝ่าย รวมถึงความรับผิดชอบทางกฎหมายกรณีมีการลอกเลียนผลงานทางวิชาการ


Journal Publication Ethics

Review and Publication

All submitted papers are subject to strict peer-review process by at least two reviewers that are experts in the area of the particular paper. The factors that are taken into account in review are relevance, soundness, significance, originality, readability and language. The possible decisions include acceptance, revision, or rejection. There is no guarantee that a revised and re-submitted manuscript will be accepted. The paper acceptance is constrained by such legal requirements as shall then be in force regarding libel, copyright infringement and plagiarism.


Authors
 

Authors must certify that the manuscript

1) is their original work.

2) has not previously been published elsewhere.

3) is not currently being considered for publication elsewhere.

All Authors mentioned in the paper must have significantly contributed to the research. Authors must state that all data in the paper are real and authentic, and must identify all sources used in the creation of their manuscript. Also, authors are obliged to provide retractions or corrections of mistakes.

The submitting author is responsible for ensuring that the article's publication has been approved by all the other coauthors. It is also the authors' responsibility to ensure that the articles emanating from a particular institution are submitted with the approval of the necessary institution. Authors must notify the editors of any conflicts of interest, and must also report any errors they discover in their published paper to the editors. By submitting a paper the author understands and agrees that its copyright is transferred to TLA.


Reviewers
 

Reviewers should keep all information regarding papers confidential and treat them as privileged information. Reviews should be conducted objectively, with no personal criticism of the author, and reviewers should not review manuscripts in which they have conflicts of interest resulting from competitive, collaborative, or other relationships or connections with any of the authors, companies, or institutions connected to the papers.

Reviewers should express their views clearly with supporting arguments, and should identify relevant published work that has not been cited by the authors. Reviewers should also call to the editor's attention any substantial similarity or overlap between the manuscript under review and any other published paper

Editors

Editors are responsible for the contents and overall quality of the publication. They have complete responsibility and authority to reject/accept an article and should guarantee the quality of the papers and the integrity of the academic record. Editors should only accept a paper when reasonably certain, and should not reverse their decisions nor overturn the ones of previous editors without serious reason. Editors should publish errata pages or make corrections when needed.

Editors should base their decisions solely on the papers' importance, originality, clarity and relevance to publication's scope. Editors should preserve the anonymity of reviewers, and should not allow any conflicts of interest between staff, authors, reviewers and board members.

Editors should have a clear picture of a research's funding sources, and should ensure that all research material they publish conforms to internationally accepted ethical guidelines. Editors should act if they suspect misconduct, whether a paper is published or unpublished, and make all reasonable attempts to persist in obtaining a resolution to the problem, however, editors should not reject papers based on suspicions, they should have proof of misconduct.