ปัจจัยต่อการยอมรับและใช้ระบบ HR Online ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยรังสิต

INFLUENCING FACTORS IN HR-ONLINE ACCEPTANCE AND USE

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับระบบ HR Online ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยรังสิต โดยใช้ทฤษฎี UTAUT ที่ประกอบไปด้วย 4 ตัวแปรต้นได้แก่ ความคาดหวังในประสิทธิภาพ ความคาดหวังในความพยายาม อิทธิพลทางสังคม สภาพสิ่งอำนวยความสะดวก โดยมีปัจจัยภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้องได้แก่ อายุ เพศ ประสบการณ์ ประสบการณ์การใช้ การศึกษาครั้งนี้ใช้การแจกแบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด โดยเป็นบุคลากรในมหาวิทยาลัยรังสิต ผลจากทดสอบสมมุติฐานพบว่า ความคาดหวังในความพยายาม ปัจจัยทางด้านสังคม ความตั้งใจในการใช้งาน มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.001 ส่วน ความคาดหวังถึงประสิทธิภาพ สภาพสิ่งอำนวยความสะดวก มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.5 แสดงให้เห็นว่าทุกปัจจัยมีผลต่อการยอมรับและใช้ระบบ HR Online และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างโดย พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างดีด้วย ค่าไค-สแควร์ (CMIN/DF) = 1.313 GFI = 0.932, AGIF =0.907,  CFI = 0.978  RMSEA =0.028, RMR = 0.027 ผลการวิจัยในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าพฤติกรรมความตั้งใจใช้งาน (BI) เป็นปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้งานระบบ HR Online (UB) มากที่สุด และอิทธิพลทางสังคม (SI) เป็นปัจจัยที่ส่งผลรองลงมาต่อพฤติกรรมการใช้งานระบบ HR Online (UB) 

Abstract

       The research aims  to study the factors that affect the acceptance of HR Online system of personnel in Rangsit University by using UTAUT theory consisting of 4 initial variables which are Performance expectations, Effort Expectancy, Social influence, Facilities Conditions With external factors gradually coming into consideration, including age, gender, experience, use experience This study uses 400 questionnaires distributed by Rangsit University personnel. The results of the hypothesis testing showed that Expectations in an effort Social factors Intention to use There is a significant correlation of 0.001 with the expectation of efficiency Facility condition There is a significant relationship at the level of 0.5, indicating that all factors affect the acceptance and use of the HR Online system and the analysis of the structural equation model, found that the model is consistent with the empirical data with chi - values. Square (CMIN / DF) = 1.313 GFI = 0.932, AGIF = 0.907, CFI = 0.978 RMSEA = 0.028, RMR = 0.027 The results of this study indicate that active behavior (BI) is a factor that The most effect on the behavior of HR Online (UB) and social influence (SI) is the second most important factor affecting the behavior of HR Online (UB).

ดาวน์โหลด Full Paper