รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการยอมรับและการใช้เทคโนโลยี ที่มีต่อพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ของบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

A Causal Relationship Model of Acceptance and Use of Technology Affecting Internal Communication Behavior via Social Media of Academic Support Staff at Thammasat University

บทคัดย่อ

       วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการยอมรับและการใช้เทคโนโลยีที่มีต่อพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของบุคลากรสายสนับสนุน ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ของโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ วิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบมาตรประมาณค่า 7 ระดับ ใช้เทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป โมเดลวิจัย ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ ได้แก่  1. ความคาดหวังในประสิทธิภาพ 2. ความคาดหวังในความพยายามใช้งาน 3. อิทธิพลทางสังคม 4. แรงจูงใจด้านความบันเทิง 5. มูลค่าราคาต่อประโยชน์ที่ได้รับ 6. สภาพสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งาน   7. ความเคยชิน  8. พฤติกรรมความตั้งใจในการใช้งาน   9. พฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ผลการวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ พบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดีโดยมีค่า CMIN/DF = 1.28, GFI = 0.94, AGFI = 0.92, NFI = 0.96, CFI = 0.99, SRMR = 0.00 และ RMSEA = 0.03 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมสื่อสารภายในองค์กรผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของบุคลากรสายสนับสนุน ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ร้อยละ 79

Abstract

       The objectives of this research were to develop the causal relationship of Unifed Theory of Acceptance and Use of Technology (UTAUT 2) affecting internal communication behaviors via social media application of supporting personnel in Thammasat Universiy and to validate the concordance of the causal relationship of the developed model and empirical data. The samples were 400 Academic Support staff at Thammasat University. The tool used to collect data was the questionnaires (with 7 rating scales), and the Structural Equations Model (SEM) was used to analyze the causal relationship. The questionnaires contained the query measure gauges for measuring variables which included nine variables: 1) Performance Expectancy, 2) Effort Expectancy, 3) Social Influence, 4) Hedonic Motivation, 5) Price Value, 6) Facilitating Conditions, 7) Habit, 8) Behavioral Intention, and 9) Social Media Communication Behavior. The results indicated that 1) the model was consistent with the empirical data with the CMIN/DF = 1.28, GFI = 0.94, AGFI = 0.92,  TLI = 0.99, CFI = 0.99, SRMR = 0.00 and RMSEA = 0.03. The variables in the model amounted to 79 percent (R2 = 0.79) of the variance of Academic Support staff's communication behavior via social media at Thammasat University.

ดาวน์โหลด Full Paper