การส่งเสริมการใช้งานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในห้องสมุดโดยประยุกต์ใช้รหัสคิวอาร์ (QR Code) ตามหลักการตลาดดิจิตอล

The promotion of the use of electronic books by Quick Response Code (QR Code) based on Digital Marketing

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างช่องทางส่งเสริมการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยการประยุกต์ใช้รหัสคิวอาร์ (QR Code) 2) สำรวจจำนวนผู้เข้าใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยใช้รหัสคิวอาร์ 3) สำรวจความพึงพอใจต่อการใช้รหัสคิวอาร์ในการเข้าใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 4) รวมทั้งวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนผู้ใช้งานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางช่องทางรหัสคิวอาร์ กับจำนวนผู้ใช้ในการดาวน์โหลดหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทางการค้า (e-Database) 5) และวิเคราะห์ความคุ้มทุนของทรัพยากรของการใช้งานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางช่องทางรหัสคิวอาร์ งานวิจัยได้ประยุกต์หลักการ Digital Marketing ในการออกแบบการวิจัย ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจำนวน 92 คน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มที่นำมาสร้างรหัสคิวอาร์เพื่อเป็นสื่อในการส่งเสริมการเข้าใช้นั้นจะเลือกจากรายชื่อหนังสือที่อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา และบุคลากรเสนอซื้อแบบพิมพ์และซ้ำกับรายชื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ห้องสมุดได้จัดซื้อไว้ให้บริการแล้วในสาขาวิชาทางเทคนิคการแพทย์และรังสีเทคนิค  ขั้นตอนการวิจัยคือสร้างสื่อในส่งเสริมการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นประตูทางลัดในการเข้าใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ออกแบบสื่อโดยใช้หน้าปกหนังสือและรหัสคิวอาร์ ที่สร้างจาก URL ของหนังสือเล่มนั้น จากนั้นทำการตลาดเพื่อให้ผู้ใช้ทราบถึงหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ห้องสมุดมีให้บริการ และเก็บสถิติจำนวนผู้เข้าใช้ ความพึงพอใจของผู้ใช้
        ผลการวิจัยพบว่าสื่อเพื่อเป็นช่องทางการส่งเสริมการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ รหัสคิวอาร์  มีการใช้งานทุกชื่อและความพึงพอใจในการใช้นั้นผู้ใช้มีความพึงพอใจในภาพรวมในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.28 โดยผู้ใช้มีความพึงพอใจมากที่สุดในเรื่องการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ผ่านรหัสคิวอาร์  เป็นสื่อที่น่าสนใจ สามารถใช้งานได้ง่าย และทำให้เพิ่มความสะดวกสบายในการเข้าถึงตัวเล่มหรือการยืมตัวเล่ม และความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนผู้ใช้ในการสแกนรหัสคิวอาร์กับจำนวนผู้ใช้ในการดาวน์โหลดหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทางการค้าพบว่าจำนวนผู้ใช้ในการสแกนรหัสคิวอาร์กับจำนวนผู้ใช้ในการดาวน์โหลดหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทางการค้ามีความสัมพันธ์กันเชิงบวก และความคุ้มทุนของทรัพยากรนั้นเมื่อมีจำนวนผู้ใช้เข้าใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จำนวนเพิ่มมากขึ้นก็จะทำให้หนังสือมีความคุ้มทุนเพิ่มขึ้นด้วย

Abstract

        The purposes of this research were: 1) to create the channel for promoting the use of electronic books (e-books) among library users by implementing QR Code, 2) to explore the number of the use of e-books using QR codes, 3) to explore the user satisfaction on the use of QR codes in order to access e-books, 4) to analyze the relationship between the number of users who scanned the QR codes and the number of users who downloaded e-books from a database, and 5) to analyze the cost effectiveness of the e-books that are purchased each year for the library users. The research used digital marketing concepts to design the research methodology. The sample included 92 faculty members, consisted of professors, faculty researches, and graduate students. The e-books adopted QR coding to promote the its use were chosen from a list of books that professors, researchers, and graduate students recommended to service in the library in the fields of Medical Technology and Radiology Technology. The methods of this research included creating media by using the front cover of the book, a QR Code for each book and then advertising it to the library users. The data were collected from QR Code tracking and user satisfaction questionnaire.
        The results of this research showed all of QR Code e-books were scanned and the user satisfaction for the use of QR Code to access e-books was at high level. The highest level of user satisfaction came from the use of QR Code to access e-books, which item states “interesting media and convenience to access the electronic books.” The relationship between the number of users using QR codes and the number of users who downloaded the e-books from a database showed a correlation, in the a positive manner, significantly at 0.05 and with regards to the cost effectiveness of the e-books, when the number of e-book use increased, the cost effectiveness also increased.

ดาวน์โหลด Full Paper