โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความตั้งใจซื้อกองทุนรวมผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Causal Relationship Model of Purchase Intention Mutual Fund through Application of Consumers in Bangkok and Metropolitan Region

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความตั้งใจซื้อกองทุนรวมผ่านแอปพลิเคชัน Phillip Fund Supermart ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ประกอบด้วยตัวแปรแฝง 5 ตัวแปร ได้แก่ ด้านเนื้อหาของแอปพลิเคชัน ด้านการรับรู้ความง่าย ด้านการรับรู้ประโยชน์ ด้านความไว้วางใจ และด้านความตั้งใจซื้อ โดยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ที่เคยซื้อกองทุนรวมผ่านแอปพลิเคชัน Phillip Fund Supermart ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยการสุ่มแบบสะดวก 360 คน และทำการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป
        ผลการวิจัยปรากฏว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความตั้งใจซื้อกองทุนรวมผ่านแอปพลิเคชัน Phillip Fund Supermart ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่ปรับแก้มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี มีค่าทางสถิติดังนี้ ค่าไค-สแควร์ (c2) 98.44, ค่าองศาอิสระ (df) 59, ค่า CMIN/df 1.67, ค่า GFI 0.96, ค่า AGFI 0.93, ค่าRMR 0.05, ค่า SRMR 0.05, ค่า RMSEA 0.04 และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ 0.70 แสดงว่าตัวแปรสามารถอธิบาย ความแปรปรวนของความตั้งใจซื้อกองทุนรวมได้ร้อยละ 70 สรุปได้ว่าความตั้งใจซื้อกองทุนรวมผ่านแอปพลิเคชัน มีผลมาจากด้านการรับรู้ประโยชน์ และด้านความไว้วางใจ 

Abstract

        This research was aimed to develop a causal relationship model of purchase intention mutual fund through application Phillip Fund Supermart of consumer in Bangkok and metropolitan region and to examine the consistency between the causal relationship model developed with empirical data. The variables consist of 5 latent variables, namely Application Content, Perceived Ease of Use, Perceived Usefulness, Trust and Purchase Intention. This research is a survey research. The sample group is 360 people who have purchased mutual fund through application that live in Bangkok and metropolitan region. The tools used in the research were online questionnaires by analyzing the causal relationship model with the program.
        The research results show that causal relationship model of purchase intention mutual fund through application Phillip Fund Supermart of the consumers in Bangkok and metropolitan region,  which is modified to be in line with empirical data, with good statistics, Chi-square statistics (c2) = 98.44, degrees of freedom (df) = 59, CMIN/df = 1.67, GFI = 0.96, AGFI = 0.93, RMR = 0.05, SRMR =  0.05, RMSEA = 0.04 and the forecast coefficient is 0.70. The study shows that the model variables can explain the variance of Purchase Intention mutual fund through application at 70 percent. In conclusion, the Purchase Intention mutual fund through application resulting from the Perceived Usefulness and Trust.

ดาวน์โหลด Full Paper