พฤติกรรมและความพึงพอใจในการเลือกฟังเพลงออนไลน์ บนแพลตฟอร์มยูทูปของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสงวนหญิง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

Behavior and Satisfaction with Online Music Selection on YouTube for Students at Sa-nguan Ying High School, Mueang District, Suphanburi

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกฟังเพลงออนไลน์บนยูทูบ และ  2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการฟังเพลงออนไลน์บนยูทูบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสงวนหญิง จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่าง 324 คน ใช้แบบสอบถามจาก Google Form 4 ตอน เก็บข้อมูลสุ่มแบบแบ่งชั้น และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

        ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสงวนหญิง จังหวัดสุพรรณบุรี เลือกฟังเพลงออนไลน์บนยูทูบเพื่อความบันเทิง (ร้อยละ 83.95) โดยรู้จักยูทูบผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (ร้อยละ 55.86) และใช้งานทุกวัน (ร้อยละ 84.88) โดยฟังเพลง 5-7 วันต่อสัปดาห์ (ร้อยละ 82.41) และ ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ(ร้อยละ 54.52) ส่วนใหญ่ฟังเพลงป๊อปเพราะชื่นชอบศิลปิน (ร้อยละ 35.44)  การฟังเพลงในยูทูบช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย (ร้อยละ 52.78) 2) ความพึงพอใจในการใช้ยูทูบอยู่ในระดับมากที่สุดในด้านเทคนิคและการใช้งาน  ( x̄ =4.24, SD. = 0.19) โดยผู้ตอบแบบสอบถามพึงพอใจในความง่ายและสะดวกของการใช้งาน  ( x̄ =4.61, SD. = 0.67) ในด้านความบันเทิง  ( x̄ =4.40, SD. = 0.34) ผู้ตอบแบบสอบถามพึงพอใจในความบันเทิงจากการฟังเพลง  ( x̄ =4.69, SD. = 0.56) และพึงพอใจในด้านสังคมและวัฒนธรรม ( x̄ =.20, SD. = 1.03) โดย YouTube ช่วยให้สื่อสารกับเพื่อนได้มากขึ้น  ( x̄ =4.22, SD. = 0.14)  จากผลการวิจัยยังพบอีกว่า การฟังเพลงบนยูทูบมีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของนักเรียนอย่างชัดเจนโดยขณะฟังเพลง นักเรียนส่วนใหญ่รู้สึกมีความสุขมากขึ้น และยังคงมีความสุขหลังฟังเพลงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งผลในส่วนของความพึงพอใจ ได้รับการคะแนนความพึงพอใจสูงจากผู้ใช้งาน โดยเฉพาะเนื้อหาเพลงที่เข้ากับยุคสมัยและการใช้งานที่ง่าย อย่างไรก็ตาม มีข้อเสนอแนะว่าควรปรับปรุงเนื้อหาในส่วน MV บนยูทูบ ให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มวัยรุ่นเพิ่มมากขึ้น และควรระมัดระวังปัญหาการละเมิดสิทธิ์ในเนื้อหา รวมถึงแนะนำให้ผู้ปกครองดูแลของบุตรหลานในการใช้ยูทูบ

Abstract

        This research aimed to 1) study the behavior of online music listening on YouTube and 2) examine the satisfaction of online music listening on YouTube among high school students at Sa-nguan Ying School, Suphanburi province. The sample consisted of 324 students, and data were collected through a stratified random sampling method using a 4-part Google Form questionnaire. Data were analyzed using percentages, means, and standard deviations.

         The findings revealed that 1) students primarily listen to music on YouTube for entertainment (83.95%). They became familiar with YouTube through social media (55.86%) and use the platform daily (84.88%). Most students listen to music 5-7 days a week (82.41%) and access the platform via mobile internet (54.52%). Pop music is the most popular genre, favored due to their favorite artists (35.44%). Listening to music on YouTube helps students feel relaxed (52.78%). 2) The overall  satisfaction with YouTube was highest in the technical and usability aspect  ( x̄ =4.24, SD. = 0.19), with students appreciating the platform's ease of use ( x̄ =4.61, SD. = 0.67). In the entertainment aspect ( x̄ =4.40, SD. = 0.34), students found YouTube to be highly entertaining  ( x̄ =4.69, SD. = 0.56). Regarding social and cultural aspects ( x̄ =4.20, SD. = 1.03), YouTube was seen as a helpful tool for connecting with peers  ( x̄ = 4.22, SD. = 0.14). 

        The research also found that listening to music on YouTube has a clear impact on students' emotions. Most students feel happier while listening to music, and this happiness continues even after listening. Additionally, user satisfaction received high ratings, particularly for modern song content and ease of use. However, it is suggested that improvements be made to music videos (MVs) on YouTube to better meet the needs of teenagers. There should also be caution regarding content copyright violations, and it is recommended that parents supervise their children's use of YouTube.

ดาวน์โหลด Full Paper