บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบจำลองสมการโครงสร้างสำหรับการใช้เพจเฟซบุ๊กในการซื้อขายสินค้าออนไลน์ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบจำลองสมการโครงสร้างกับข้อมูลเชิงประจักษ์การใช้เพจเฟซบุ๊กในการซื้อขายสินค้าออนไลน์ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่เคยซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก พักอาศัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 315 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และโมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบจำลองสมการโครงสร้างที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านภาพลักษณ์ 2) ด้านการรับรู้ราคา 3) ด้านความไว้วางใจ 4) ด้านความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยพิจารณาจากค่า CMIN/df = 2.11, ค่า GFI = 0.95, ค่า AGFI = 0.92, ค่า SRMR = 0.01, ค่า RMSEA = 0.06 และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ = 0.78 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก ได้ร้อยละ 78 พบว่าด้าน ภาพลักษณ์ ด้านความไว้วางใจ และด้านรับรู้ราคา มีอิทธิพลทางตรงต่อความตั้งใจซื้อตามลำดับ ซึ่งผู้ประกอบการที่ขายสินค้าออนไลน์ ควรคำนึงถึงภาพลักษณ์สินค้าที่ดีให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายสร้างความไว้วางใจให้เกิดกับลูกค้าโดยให้ข้อมูลรายละเอียดสินค้าที่ชัดเจนเป็นสำคัญเพื่อให้เกิดความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านเพจเฟซบุ๊กต่อไป
The article aimed 1) to develop and validate a causal of relationship model purchase intention teapot via Facebook of consumers in Bangkok and its vicinity and 2) study causal factors Influencing purchase intention teapot via Facebook of consumers in Bangkok and its vicinity.The research format is quantitative research. The tools used to collect data were online questionnaires. The sample group is People who have previously purchased products online through Facebook pages Residing in Bangkok and surrounding areas, a total of 315 people were obtained by convenience sampling. Statistics used to analyze the data include frequency, percentage, confirmatory factor analysis. and structural equation models The research results found that The developed structural equation model consists of 4 components are 1) image 2) price perception 3) trust and 4) purchase intention and the model is consistent whit the empirical data to a great extent. The statistic shows CMIN/df = 2.11, GFI = 0.95, AGFI = 0.92, SRMR = 0.01, RMSEA = 0.06. The final is predictive coefficient of 0.78, indicating that the variables in the model can explain the variance of the purchase intention teapot via Facebook by 78 percent. It was found that the image aspect Trust aspect and price perception It has a direct influence on purchase intention respectively. When purchasing a teapot set, entrepreneurs should consider a good product image to be widely known and the trust of customers. Receiving clear product details is important in order to create an intention to buy a teapot set through Next Facebook page.
ดาวน์โหลด Full Paper