งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการทำงาน ปัญหา และข้อเสนอแนะในการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการของพนักงานในหน่วยงานทดสอบและพัฒนาของบริษัทจำกัด (มหาชน) แห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี เพื่อที่จะพัฒนาหรือแก้ไขการใช้ระบบสารสนเทศให้เหมาะสม และเป็นแนวทางในการนําไปใช้ในการบริหารองค์กรของผู้บริหาร ซึ่งใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ พนักงานของหน่วยงานทดสอบละพัฒนาซึ่งเป็นผู้ใช้งานระบบ จำนวน 15 คน ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพจากการใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการมี 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการบริหารเวลา พนักงานสามารถวางแผนการและจัดสรรเวลาทำงานโดยระบบกระตุ้นพนักงานให้มีความกระตือรือร้นในการทำงานให้เสร็จตามเวลาที่กำหนด 2) ด้านคุณภาพของงาน พนักงานสามารถตรวจสอบความถูกต้องของงาน ทำให้ได้ผลงานที่ถูกต้องตามที่ได้รับมอบหมาย 3) ด้านปริมาณงาน ผู้บริหารและหัวหน้างานสามารถควบคุมปริมาณงานและการตัดสินใจมอบหมายงานให้พนักงานได้อย่างเหมาะสม จากการใช้ระบบดูข้อมูลภาระงานของพนักงานแต่ละคน และ 4) ด้านการประหยัดทรัพยากร ระบบช่วยลดการสิ้นเปลืองกระดาษ รวมทั้งช่วยประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูลที่ซับซ้อน การประชุม การติดตามงาน การทำสรุปผลรายงาน และการประสานงานกับแต่ละทีม ส่วนปัญหาและข้อเสนอแนะจากการใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ มี 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านระบบสารสนเทศ ระบบมีสารสนเทศไม่ครอบคลุมความต้องการของผู้ใช้งาน 2) ด้านการสื่อสาร ระบบทำให้การพูดคุยระหว่างบุคคลน้อยลง และ 3) ด้านบุคลากร พนักงานไม่ให้ความร่วมมือในการใช้งานระบบ ส่วนแนวทาง ในการแก้ปัญหา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ได้แก่ ควรมีการติดตามและประเมินผลการใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการของผู้ใช้งานเป็นระยะ เพื่อนําไปสู่การพัฒนาปรับปรุง แก้ไขระบบ โดยมีผู้บริหารและหัวหน้างานสนับสนุนให้พนักงานใช้งานระบบอย่างจริงจัง รวมไปถึงการพูดคุยถึงประโยชน์ ความสำคัญ และจัดอบรมการใช้งานระบบ
The objectives of this research were to investigate the effectiveness of the management information system implemented in a public limited company in Pathum Thani province as well as to explore problems and suggestions from the implementation of such a system. This study employed qualitative research methods. Data were collected from 15 users of this system using a structured in-depth interview as a data collection tool. The study revealed that the system was effective in four areas. The first one was time management. The system helped the users in planning and managing their time. In addition, this system also helped the users to be enthusiastic and complete the tasks on time. The second aspect was that the system could enhance the quality and accuracy of the assigned tasks. The third one was about the workload. The system helped the managers and supervisors to control the workload and make the right decisions on the assignment of tasks by using the system to view the workload of each employee. The last one was about resource saving. The system could reduce the use of paper and time for searching the information, time for a team meetings and follow-ups, time for writing reports, and time for coordination. The problems from the implementation of this system included 1) the system did not cover the needs of users; 2) it decreased the interaction among the team members; 3) there were still some problems in terms of the users’ cooperation. Therefore, it was suggested that the solution to improve efficiency is system evaluation must be done frequently to improve the system to match the users’ needs. Furthermore, the managers and supervisors should encourage employees to use this system by mentioning the benefits and importance of the system as well as organizing a training session for the employees so that they would be familiar with the system.
ดาวน์โหลด Full Paper