การศึกษาความเสี่ยงในการใช้ระบบพร้อมเพย์

A Study of the Risk of PromptPay System Usage

บทคัดย่อ

        การศึกษาวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยงในการใช้ระบบพร้อมเพย์จำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ 2) ศึกษาความไว้วางใจในการใช้ระบบพร้อมเพย์จำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ 3) ศึกษาปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้ระบบพร้อมเพย์ และ 4) ศึกษาปัจจัยความไว้วางใจที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้ระบบพร้อมเพย์ ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามผ่านระบบออนไลน์เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่ใช้ระบบพร้อมเพย์ ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน
         ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ในด้านปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยงด้านการเงิน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความเห็นว่า มีความเสี่ยงในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย= 2.69, SD = .614) ด้านปัจจัยความไว้วางใจ ส่วนใหญ่มีความเห็นว่า มีความไว้วางใจด้านความปลอดภัย อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย=3.21, SD =.734) ส่วนพฤติกรรมในการใช้พร้อมเพย์นั้น พบว่า ส่วนใหญ่มีการใช้ ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=3.59 SD = 1.093) สำหรับการทดสอบความแตกต่างตามลักษณะทางประชากรศาสตร์พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพแตกต่างกัน มีความไว้วางใจด้านความปลอดภัยไม่แตกต่างกัน ในการทดสอบการถดถอยเชิงพหุ ด้านปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยงด้านการเงิน ผู้ตอบแบบสอบถามมีความเห็นว่าในการทำธุรกรรมด้วยระบบพร้อมเพย์ ไม่มีโอกาสที่จะส่งผลให้สูญเสียเงินเกินจากยอดเงินที่โอนอย่างแน่นอน (B = 0.350) และการทำธุรกรรมด้วยระบบพร้อมเพย์ อาจมีความผิดพลาดจากการคิดค่าธรรมเนียมเกินจากที่กำหนดไว้ (B = 0.110) ส่วนปัจจัยความไว้วางใจด้านความปลอดภัย ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นว่าการทำธุรกรรมการเงินด้วยระบบพร้อมเพย์มีความปลอดภัยกว่าการทำธุรกรรมการเงินแบบเดิม (B = 0.294) และมีความไว้วางใจและคิดว่าระบบพร้อมเพย์มีความปลอดภัยเสมอ (B = 0.340) ปัจจัยเหล่านี้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้ระบบพร้อมเพย์

Abstract

       The purpose of this research study was to 1) study risk perception factors in using the PromptPay system according to demographic characteristics; 2) study trust perception factors in using the PromptPay system according to demographic characteristics; 3) study the risk perception factors that influenced the PromptPay system usage behavior; and 4) study the trust factors that influenced the behavior of using the PromptPay system. Survey research was used. Online questionnaires were distributed to collect data from to a sample group of 400 who were using the PromptPay system in Bangkok.
       The research results were reported as follows: Regarding the perception of financial risk, most respondents thought that they were on moderate risk (mean = 2.69, SD = .614). In analyzing trust perception factors, results showed that their trust in security of the system was at a moderate level (mean = 3.21, SD =.734). As for the behavior in using PromptPay, it was found that the system was used at a high level ( mean= 3.59 SD = 1.093). Statistical testing revealed that differences in age, level of education, and career did not affect the respondents’ trust in security of the system. The multiple regression analysis revealed the following perceived financial risk, the respondents believed that when transferring funds through the PromptPay system, they would never lose any money (B = 0.350); however, they might experience an error in overcharging the specified service fees (B = 0.110). As for their trust in security of the system, the respondents thought that financial transactions with PromptPay was more secure than traditional financial transactions (B=0.294). In addition, they believed that the PromptPay system was always safe (B=0.340). These risk factors contributed to the respondents’ PromptPay system usage behavior.

ดาวน์โหลด Full Paper