ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีอุปกรณ์การอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ของพระนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Factors Affecting the Acceptance of Applications Used in Electronic Book Reading by Graduate Student Monks at Mahachulalongkornrajavidyalaya University

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา (1) การใช้อุปกรณ์การอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของพระนิสิต (2) ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีอุปกรณ์การอ่านหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ในการเข้าถึงการอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของพระนิสิต  และ (3) ตัวแบบการพยากรณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีอุปกรณ์การอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของพระนิสิต ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ พระนิสิต ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ส่วนกลาง ที่ลงทะเบียนภาคการศึกษาที่ 2559 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 371 รูป โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามโดยพิจารณาจากเกณฑ์การประเมินความเชื่อมั่น ของ Cronbach มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า (1) พระนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาส่วนใหญ่กำลังศึกษาระดับปริญญาโท นิยมใช้ อุปกรณ์การอ่านประเภทสมาร์ทโฟนมากที่สุด และความถี่ในการใช้อุปกรณ์การอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์คือ ช่วงความถี่ 6-10 ครั้งต่อสัปดาห์ มากที่สุด ส่วนมากมีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ห้องสมุดมีให้บริการน้อย ไม่ตรงกับความต้องการและมีปัญหาในการใช้อุปกรณ์การอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์การอ่านกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต Wi-Fi (2) การยอมรับเทคโนโลยีอุปกรณ์การอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการรับรู้ประโยชน์ของพระนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̄=3.88, SD = 0.68)  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคืออุปกรณ์การอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ช่วยประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บหนังสืออยู่ในระดับมาก (x̄=3.98, SD = 0.88) (3) การยอมรับเทคโนโลยีอุปกรณ์ การอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการรับรู้การใช้งานง่ายของพระนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̄=3.64, SD = 0.77) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ อุปกรณ์การอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้สามารถอ่านหนังสือได้ง่ายในทุกที่ทุกเวลา และการอ่านข้อความ ตัวอักษร และภาพจากอุปกรณ์การอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีความชัดเจนสามารถปรับย่อขยายได้ง่ายและสะดวก อยู่ในระดับมากทั้งสองด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน (x̄=3.74, SD = 0.93) การทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า พระนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รับรู้การใช้งานง่าย และรับรู้ประโยชน์ของอุปกรณ์การอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทสมาร์ทโฟน มากที่สุด เมื่อพิจารณาตัวแปรอิสระเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการรับรู้การใช้งานง่าย เป็นตัวแปรที่มีความสำคัญต่ออัตราการเปลี่ยนแปลงความถี่ในการใช้อุปกรณ์การอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทแท็บเล็ตมากที่สุด ในด้านการรับรู้ประโยชน์ เป็นตัวแปรอิสระที่มีความสำคัญต่ออัตราการเปลี่ยนแปลงความถี่ ในการใช้อุปกรณ์การอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทคอมพิวเตอร์มากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสนับสนุนและสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้

Abstract

          In this thesis, the researcher studies (1) the used of electronic books (e-books) by graduate student monks. The researcher also examines (2) factors affecting the acceptance of applications used for e-book reading by these graduate student monks.  Finally, furthermore, the researcher develops and employs (3) a model for forecasting the factors affecting the acceptance of applications for e-book reading by the graduate student monks. The sample population consisted of 371 graduate student monks at Mahachulalongkornrajavidyalaya University at the main campus, all of whom had registered in the second semester of the academic year 2016. The research instrument was a questionnaire evaluated for validity by experts and tested for reliability using Cronbach’s α (alpha) method with its reliability found to stand at 0.92. Using techniques of descriptive statistics, the researcher analyzed the data collected in terms of percentage, frequency, mean, and standard deviation. In testing hypotheses, the researcher employed multiple regression analysis (MRA). Findings are as follows:  (1) The highest proportion of the graduate student monks used smartphone applications at the highest level.  At the highest level, the frequency with which these applications were used in e-book reading was six to ten times weekly.  The highest proportion had problems stemming from the facts that the library provided limited numbers of e-books and that the ones provided did not always match their needs.  They also had to confront problems in the use of applications for e-book reading because of being unable to make connections using Wi-Fi. (2) In respect to the acceptance of applications for e-book reading in the aspect of the perceived usefulness for the graduate student monks, the overall mean was found to be at a high level (M = 3.88, SD = 0.68). When considered in each aspect, it was found that the aspect with the highest mean at a high level was the aspect of applications assisting in saving space for the storage of e-books. (M = 3.98, SD = 0.88). (3) In respect to the acceptance of applications used in e-book reading, it was found that in respect to the aspect of perceived ease of use by the graduate student monks, the overall mean was at the high level (M = 3.64, SD = 0.77). When considered in each aspect, the following was found: the aspects with the highest mean were the applications for e-books assisted in reading e-books anywhere at any time and texts, fonts, and images were clear and were easily and conveniently expanded and reduced in size. Both aspects were shown to hold at a high level with the same. (M =3.74, SD = 0.93). The results of hypothesis testing were as follows: At the highest level, the graduate student monks perceived ease of use and perceived usefulness from utilizing smartphone for e-book reading.
           When considered in each aspect it was found that perceived ease of use important variable to rate of change in frequency the most is tablets for e-book reading in terms of perceived usefulness independent variable to rate of change in frequency the most is personal computer for e-book reading. Carrying statistical significance at .05. This result supported and was congruent with germane set research hypotheses.

ดาวน์โหลด Full Paper