การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกส์พหุกลุ่มเพื่อพัฒนาตัวแบบอิทธิพลการยอมรับและใช้เทคโนโลยีระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (จีพีเอส) ในกระบวนการขนส่งสินค้า ของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมในราชอาณาจักรไทย

Multinomial Logistics Regression Analysis for Developing Adoption Influence Models of Global Positioning System Technology for Tracking the Thai Logistics Small and Medium Enterprises

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยีระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก ในกระบวนการขนส่งสินค้าของผู้ประกอบการโลจิสติกส์ขนาดกลางและขนาดย่อมในราชอาณาจักรไทย โดยใช้ตัวแบบการยอมรับเทคโนโลยี ฉบับที่ 2 (TAM2) กรอบมาตรฐาน ISO/IEC 25010:2011 และแนวคิดว่าด้วยการออกแบบหน้าจอส่วนต่อประสานผู้ใช้งาน พัฒนาเป็นกรอบแนวคิดของการวิจัย กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยคือ ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าที่เป็นสมาคมขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์จำนวน 164 บริษัท จากการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกส์พหุกลุ่มจากตัวแปรทำนาย 5 ตัวแปร ได้แก่ ประเภทสินค้า ประสบการณ์ใช้ GPS Tracking ความพร้อมด้านเงินลงทุนทางเทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ และบุคลากร พบว่า ตัวแปรดังกล่าวสามารถพยากรณ์อิทธิพลของการรับรู้ประโยชน์ ความง่าย อิทธิพลทางสังคม และความน่าเชื่อถือ ของ GPS Tracking ต่อการยอมรับและใช้ GPS Tracking ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ จากการทดสอบสมมติฐานทำให้ได้ตัวแบบ (สมการ) อิทธิพลการยอมรับและใช้ GPS Tracking ของผู้ประกอบการขนส่ง จำนวน 30 ตัวแบบ 

Abstract

        This research aimed to study factors influencing the adoption of Global Positioning System (GPS) technology in transportation processes of the Thai logistics small and medium enterprises. Technology Acceptance Model 2 (TAM 2) were applied with ISO/IEC 25010:2011 and user interface design for developing a research framework of this study. The 164 enterprises which were membership of the Thailand Transportation and Logistics Associations were chosen as the research respondents. Questionnaires were used as research tools gathering data from the respondents. The multinomial logistic regression analysis was applied to test hypotheses using five predictors: product types, GPS Tracking usage experiences, technology investment readiness, information technology infrastructure, and employee readiness. The hypothesis test found that the predictors were able to forecast influence of the perceived usefulness, ease of use, social influence, and reliability of the GPS technology to the adoption at statistical significance level 0.05. The test generated thirty models (equations) of the adoption. 

ดาวน์โหลด Full Paper