ตัวแบบการจัดการความรู้: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต

Knowledge Management Models: A Case Study of Rangsit University

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวแบบการจัดการความรู้ในบริบทของมหาวิทยาลัยรังสิต ด้วยการศึกษาอิทธิพลของปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดการความรู้ต่อแนวทางที่จะนำไปสู่การจัดการความรู้ที่เหมาะสมผ่านมุมมองของบุคลากรในมหาวิทยาลัยรังสิต ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่างจำนวน 323 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 285 ชุด (88.24%) ใช้สถิติวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุในการทดสอบสมมติฐาน ทำให้ได้ผลลัพธ์เป็นสมการอิทธิพลจำนวน 12 สมการ (12 ตัวแบบ) ในตัวแบบดังกล่าวประกอบด้วยปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดการความรู้ 12 ปัจจัย (ตัวแปรพยากรณ์) ซึ่งเป็นปัจจัยย่อยของปัจจัยการจัดการความรู้ทั้ง 5 ด้าน อาทิ ปัจจัยภาวะผู้นำ ปัจจัยวัฒนธรรมองค์กร ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานด้านองค์กร ปัจจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ และปัจจัยการวัดผล ที่มีอิทธิพลต่อแนวทางที่จะนำไปสู่การจัดการความรู้ที่เหมาะสม (ตัวแปรเกณฑ์) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยดังกล่าว ได้แก่ 1) การมีวิสัยทัศน์ของผู้บริหารในการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ 2) การสร้างขวัญและกำลังใจแก่บุคลากรด้วยการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้และจัดการความรู้ 3) การสร้างบรรยากาศการทำงานที่เปิดกว้างและโปร่งใสทางความคิดที่เอื้อให้บุคลากรทุกระดับมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน มีความจริงใจ และนับถือซึ่งกันและกัน 4) การแต่งตั้งคณะทำงานด้านการจัดการความรู้ที่มีความรู้ความสามารถในการจัดการความรู้ และเป็นที่ยอมรับของบุคลากรในองค์กร 5) การมีพื้นที่เฉพาะสำหรับดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ 6) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทันสมัยในการจัดเก็บความรู้ 7) การขาดการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกัน 8) การพัฒนาทักษะความสามารถของบุคลากรในการใช้

Abstract

        This research aimed to develop knowledge management models in Rangsit University contexts with a study of knowledge management related factors influencing appropriate knowledge management approaches via Rangsit University personnel’s perspectives. Questionnaires were used as research tools for gathering data from 323 samples; 285 respondents completed and returned the questionnaires (88.24%). The multiple regression analysis was applied to test hypotheses, which generated 12 influence equations (models). In the models consisted of 12 minor factors of the main five knowledge management factors--leadership, culture, organization infrastructure, information technology, measurement, etc.--which influenced the knowledge management approaches at statistical significance level .05. The 12 factors were 1) visionary leaders in the development of a learning organization; 2) the morale of the staff by attending the event KM; 3) creation of an atmosphere of openness and transparency of the work of thought that encourages staff at all levels to share and learn together with sincerity and mutual respect; 4) the appointment of the Committee on Knowledge Management with their competence and was accepted; 5) specific areas of knowledge management activity; 6) use of modern information technology to store knowledge; 7) lack of technological application supporting collaborative learning; 8) regular and continuous development of personal skill on information technology usage in their operations; 9) clear knowledge management measuring performance indicators; 10) use of knowledge management assessment results for developing personnel; 11) linkage between knowledge management and the university performance; and. 12) assessing and rewarding systems of successful knowledge management of university units.

ดาวน์โหลด Full Paper