พฤติกรรมการแสวงหาและการใช้สารสนเทศด้านศิลปะ : กรณีศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ

Information Seeking Behavior and Information Use in Art: A Case Study of Students at Silpakorn University, Wang Tha Phra Campus

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศด้านศิลปะภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ (2) การใช้สารสนเทศของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ (3) เปรียบเทียบพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศด้านศิลปะภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ (4) เปรียบเทียบการใช้สารสนเทศที่เป็นแหล่งสารสนเทศด้านศิลปะภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ
        ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ ลงทะเบียนเรียน  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีทั้ง 4 คณะ ได้แก่ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะโบราณคดี และคณะมัณฑนศิลป์ จำนวน ทั้งหมด 3,269 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ ลงทะเบียนเรียนภาคเรียน   ที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีทั้ง 4 คณะ จำนวนทั้งหมด 365 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผ่านการประเมินความเที่ยงตรงจากผู้เชี่ยวชาญ และหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของ Cronbach ได้ค่าความเชื่อมั่นที่ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบค่า t (Dependent t-test) ที่ใช้ทดสอบสมมติฐานการวิจัย กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  
        ผลการวิจัยสรุปได้ว่า
        1. นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 169 คน คิดเป็น  ร้อยละ 55.22  ซึ่งกำลังศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 81 คน คิดเป็นร้อยละ 26.47 และศึกษาอยู่ใน                          คณะมัณฑนศิลป์ จำนวน 88 คน คิดเป็นร้อยละ 28.75
        2. นักศึกษาระดับปริญญาตรีมีพฤติกรรมการแสวงหาแหล่งสารสนเทศด้านศิลปะภายนอก   มหาวิทยาลัยมากกว่าภายในมหาวิทยาลัย โดยเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 2.76) ขณะเดียวกัน พบว่า นักศึกษามีพฤติกรรมการแสวงหาแหล่งสารสนเทศด้านศิลปะภายในและภายนอกอยู่ในระดับปานกลาง  (= 2.72 และ = 2.80) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายแหล่งสารสนเทศ พบว่า นักศึกษามีพฤติกรรม การแสวงหาสารสนเทศด้านศิลปะจากฐานข้อมูลรูปภาพ (Pinterest) ซึ่งอยู่ในระดับมาก (= 3.68)
        3. นักศึกษาระดับปริญญาตรีมีวัตถุประสงค์การใช้สารสนเทศด้านศิลปะภายนอกมหาวิทยาลัยมากกว่าภายในมหาวิทยาลัย โดยรวมทั้งหมดอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.41) ซึ่งนักศึกษามีวัตถุประสงค์การใช้สารสนเทศด้านศิลปะภายในมหาวิทยาลัยอยู่ในระดับปานกลาง   (= 3.15) และมีวัตถุประสงค์  การใช้สารสนเทศด้านศิลปะภายนอกมหาวิทยาลัยอยู่ในระดับมาก (= 3.61) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักศึกษามีวัตถุประสงค์ในการใช้สารสนเทศด้านศิลปะเพื่อการศึกษาค้นคว้าประกอบการเรียนเพิ่มเติม และเพื่อการทำรายงาน การบ้าน ซึ่งอยู่ในระดับมาก (= 3.73)
        4. นักศึกษาระดับปริญญาตรีมีการใช้ประเภทของสารสนเทศด้านศิลปะภายนอกมหาวิทยาลัยและภายในมหาวิทยาลัย โดยรวมทั้งหมดอยู่ในระดับปานกลาง (= 2.83) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักศึกษามีการใช้ประเภทของสารสนเทศด้านศิลปะจากหนังสือ / ตำราศิลปะ ซึ่งอยู่ในระดับมาก (= 3.71)
        การทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า
        1. นักศึกษาระดับปริญญาตรีมีพฤติกรรมการแสวงหาแหล่งสารสนเทศด้านศิลปะภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ทำให้ได้สารสนเทศที่หลากหลายก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05    
        2. นักศึกษาระดับปริญญาตรีมีวัตถุประสงค์การใช้สารสนเทศ เพื่อการศึกษาค้นคว้าประกอบการเรียนเพิ่มเติม เพื่อการทำรายงาน การบ้าน เพื่อการทำโครงงานรายวิชา เพื่อสร้างความบันเทิงและพักผ่อนหย่อนใจ และเพื่อการสอบ ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 
        3. นักศึกษาระดับปริญญาตรีมีการใช้ประเภทของสารสนเทศจากหนังสือ / ตำราศิลปะ วารสาร ศิลปะนิพนธ์ / วิทยานิพนธ์ / งานวิจัย เอกสารจดหมายเหตุ ซีดีรอมประกอบการเรียน วิติทัศน์ สไลด์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
(e-Book) วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Journal) และฐานข้อมูลออนไลน์ ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05                                         

Abstract

        In this thesis, the researcher examines (1) intra- and extramural information seeking behaviors in art on the part of selected students at Silpakorn University, Wang Tha Phra campus.  The researcher also investigates (2) the information use of these students.  In addition, the researcher compares (3) the intra- and extramural information seeking behaviors of these students.  Finally, furthermore, the researcher also compares (4) the intra-and extramural sources of information used by the students. 
        The research population consisted of 3,269 students enrolled at Silpakorn University, Wang Tha Phra campus in the second semester of the academic year 2016 at the undergraduate level in four faculties. The four faculties were Painting, Sculpture and Graphic Arts; Architecture; Archeology; and Decorative Arts.  On the basis of an extrapolation from Taro Yamané’s table, the researcher selected a sample population consisting of 365 undergraduates from these four faculties, all of whom had enrolled in the second semester of the academic year 2016. 
        A questionnaire tested for validity by experts was used as a research instrument by the researcher.  Applying Cronbach’s α (alpha) technique, the experts determined that the questionnaire was internally reliable at the level of 0.97. Using techniques of descriptive statistics, the  researcher  analyzed  the  data  collected  in  terms  of  percentage,  mean,  and standard deviation.  The dependent samples t test was also employed by the researcher in testing hypotheses postulated for this inquiry.  Statistical significance was set at the level of .05.
        Findings are as follows: 
        1. A slight majority of between one half and three fifths of the questionnaire respondents were females (169 subjects, 55.22 percent).  Pluralities of slightly more than a quarter of the students were studying in the fourth year of their program (81 subjects, 26.47 percent). A plurality of between a fourth and less than three tenths of the students were enrolled at the Faculty of Decorative Arts (88 subjects, 28.75 percent). 
        2. The subjects under study exhibited more extramural than intramural information seeking behaviors in art.  The total mean was at a moderate level (M = 2.76).  Moreover, the intramural and extramural information seeking behaviors in art were displayed at a moderate level (M = 2.72 and M = 2.80, respectively).  When considering all information sources, it was found that at a high level
(M = 3.68), the students preferred information seeking behaviors in art vis-à-vis Pinterest. 
        3. The objectives of the subjects under investigation in seeking information for artistic use were met at a higher level by extramural than intramural resources. The total mean was displayed at a moderate level (M = 3.41). Their artistic objectives were met by intramural resources at a moderate level (M = 3.15).  However, their artistic objectives were met by extramural resources at a high level
(M = 3.61).  When considered in each aspect, at a high level (M = 3.73), it was found that the objectives of the students in seeking further artistic information were for the purposes of conducting additional research for their own study purposes in addition to the ends of writing reports and completing homework. 
        4. Insofar as concerns the use of extramural and intramural sources of artistic information by reference to the category under which the artistic information was subsumed, the total mean was displayed at a moderate level (M = 2.83).  When considered in each aspect, at a high level (M = 3.71), it was found that the artistic information sought by the students fell under the rubrics of books and art textbooks. 
        The results of hypothesis testing were as follows: 
        (1) The students under study exhibited artistic information seeking behaviors both intramurally and extramurally.  The information obtained was variegated and this led to creativity.  This result was in consonance with the relevant research hypothesis at the statistically significant level of .05. 
        (2) These students fulfilled objectives in searching for artistic information by conducting additional research for their own purposes, completing homework, carrying out projects for all of the subjects studied, for the sake of entertainment and relaxation, and for examination purposes.  This result was congruent with the relevant research hypothesis at the statistically significant level of .05. 
        (3) The categories of artistic information used by the students involved books, art textbooks, journals, art theses, other theses, research investigations, archives, compact disc read-only-memory
(CD-ROMs) discs in their field of study, videos, slides, e-books, e-journals, and online databases.  This result was compatible with the germane research hypothesis at the statistically significant level of .05. 

ดาวน์โหลด Full Paper