การรับสารสนเทศของนักศึกษาต่างชาติมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร

The Reception of Information by Foreign Students at Private Universities in Bangkok Metropolis

บทคัดย่อ

        การวิจัยเรื่องการรับสารสนเทศของนักศึกษาต่างชาติมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการรับสารสนเทศของนักศึกษาต่างชาติมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร (2) ศึกษาปัญหาการรับสารสนเทศของนักศึกษาต่างชาติมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร  และ (3) เปรียบเทียบปัญหาการรับสารสนเทศจำแนกตาม เพศ สัญชาติ คณะที่สังกัด ระดับการศึกษา และระยะเวลาที่เข้ามาศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาต่างชาติมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร ทุกระดับชั้น ประจำปีการศึกษา 2554 จำนวน 377 คน ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สำหรับสถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation-SD) การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย t test (Independent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว F test (one-way ANOVA) การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยใช้ LSD และการทดสอบความสัมพันธ์ โดยใช้ Chi-Square 
        ผลการวิจัยพบว่า
        1. กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาต่างชาติเพศหญิง ส่วนใหญ่ศึกษาอยู่ในกลุ่มคณะมนุษยศาสตร์ ในระดับปริญญาตรี เข้ามาศึกษาเป็นระยะเวลา 4 ปี และได้รับข้อมูลจากเพื่อนที่มาเรียนก่อนแนะนำ นักศึกษาต่างชาติใช้สารสนเทศเพื่อการเรียน/ทำรายงาน ส่วนใหญ่ต้องการสารสนเทศที่เป็นภาษาอังกฤษ ใช้ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเพื่อการรับสารสนเทศมากที่สุด ได้รับสารสนเทศจากนักศึกษาชาติเดียวกัน รับสารสนเทศจากหนังสือพิมพ์ วารสาร และโทรทัศน์ภาษาอังกฤษ และใช้อีเมล์ในการสื่อสาร
        2. นักศึกษาต่างชาติ เข้าใช้ห้องสมุด 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อใช้บริการอินเทอร์เน็ตและตำราเรียน โดยใช้สารสนเทศที่มีความทันสมัย ส่วนใหญ่เลือกใช้หอสมุดกลางของมหาวิทยาลัย โดยมีเจ้าหน้าที่แนะนำในการสืบค้นข้อมูล และจัดเก็บสารสนเทศในคอมพิวเตอร์ของตนเอง 
        3. นักศึกษาต่างชาติ ประสบปัญหาในเรื่องเวลาเปิด-ปิดห้องสมุดและที่นั่งอ่าน ความทันสมัยและจำนวนคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ สารสนเทศไม่เพียงพอต่อการใช้งานและการใช้ภาษาอังกฤษในการสนทนาของบุคลากร         
        4. นักศึกษาต่างชาติ ที่มีเพศและระยะเวลาที่เข้ามาศึกษาต่างกันมีปัญหาในการรับสารสนเทศจากภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัยโดยรวมไม่ต่างกัน ส่วนนักศึกษาต่างชาติที่มีสัญชาติและระดับการศึกษาต่างกันมีปัญหาในการรับสารสนเทศจากภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัยโดยรวมต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักศึกษาต่างชาติ ที่สังกัดกลุ่มคณะต่างกันมีปัญหาในการรับสารสนเทศจากภายในมหาวิทยาลัยโดยรวมต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่จากภายนอกมหาวิทยาลัยโดยรวมไม่ต่างกัน 

Abstract

        In this survey research investigation entitled “The Reception of Information by Foreign Students at Private Universities in Bangkok Metropolis,” the researcher investigates (1) the reception of information by foreign students at private universities in Bangkok Metropolis. Furthermore, the researcher studies (2) problems in the reception of information by these foreign students. In addition, the researcher compares (3) problems in the reception of information by these foreign students as classified by gender, nationality, faculty in which enrolled, educational level, and the projected period of time for study. 
       The sample population consisted of 377 foreign students at private universities in Bangkok Metropolis at all levels who were enrolled in the academic year 2011. 
        The data collected were analyzed using a computer software program. Using techniques of descriptive statistics, the researcher analyzed the data collected in terms of percentage (%), mean), and standard deviation (SD). The t-test (Independent Samples) and F-test (one-way analysis of variance [ANOVA]) were techniques also employed by the researcher. The multiple comparison least significant difference (LSD) and chi-square techniques were also used by the researcher. 
         Findings are as follows: 
        1. The students under study who were female foreign students mostly studied in their university’s Faculty of Humanities at the bachelor’s degree level. They came to study for four years and had received information from friends who had come earlier. The foreign students under study used information for study and reports. Most of them wanted information in English. They most frequently used the university library to gather information. They received information from student compatriots from their own country. They received information from newspapers, journals, and English–language television. They used e-mail for communication purposes. 
        2. Foreign students used libraries from two to three times weekly in order to access the Internet and receive textbook services. They used information that was up-to-date. Most of them used the Central Library of the university at which they studied with library personnel providing guidance in information retrieval and storage in personal computers. 
        3. Foreign students faced problems in respect to library opening and closing hours and reading areas. There were also problems regarding the modernity and the number of computers providing information with computer services being insufficient. There was also a problem in having to use English for conducting conversations with library personnel. 
        4. The foreign students under study who differed in the demographical characteristics of gender and the projected period of time for study did not exhibit concomitant differences in the problems of receiving information from inside and outside of the university in an overall picture. The foreign students under study who differed in the demographical characteristics of nationality and educational level displayed corresponding differences in problems in the reception of information from inside and outside of the university in an overall picture at the statistically significant level of .05. The foreign students under study who differed in the faculty at which they were enrolled displayed parallel differences in problems of receiving information from inside the university in an overall picture at the statistically significant level of .05. However, there were no differences found in an overall picture in the reception of information from outside the university. 

ดาวน์โหลด Full Paper