การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพ ปัญหาและความคิดเห็นของครูบรรณารักษ์ต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านของห้องสมุด ในเขตกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ศึกษาครั้งนี้คือครูบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียน ในเขตกรุงเทพมหานครทั้งสิ้น 686 และกลุ่มตัวอย่างจำนวน 253 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบเพื่อวัดความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test) และสถิติทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายเป็นคู่โดยวิธี LSD
ผลการวิจัยพบว่า (1) ห้องสมุดโรงเรียน ในเขตกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่มีครูบรรณารักษ์ที่ปฏิบัติงานในห้องสมุด จำนวน 1 คน มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เดือนละ 1 ครั้ง มีการจัดบอร์ดเกี่ยวกับเกร็ดความรู้ต่างๆ หน้าห้องสมุดทุกเดือน และเก็บสถิติการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน (2) ปัญหาในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน คือ ด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานปกลาง มีงบประมาณจำนวน วัสดุอุปกรณ์ หนังสือ สื่อและคู่มือที่ใช้ในการจัดกิจกรรมมีน้อยและไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน ผู้บริหารให้ความสำคัญกับงานหรือกิจกรรมของห้องสมุดน้อย ครูบรรณารักษ์ทำงานไม่เต็มที่ เพราะมีงานอื่นนอกเหนือจากงานของห้องสมุด และมีชั่วโมงสอนมากเกินไป ครูผู้สอนไม่มีความเข้าใจในงานหรือกิจกรรมของห้องสมุด (3) ครูบรรณารักษ์มีความร่วมมือในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ผู้บริหารให้ความร่วมมือในการรณรงค์ให้ทุกคนในโรงเรียนเห็นความสำคัญของการอ่าน และเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน มีส่วนร่วมในกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ครูผู้สอนให้ความร่วมมือในข้อสนับสนุนให้นักเรียนมีนิสัย รักการอ่านอย่างต่อเนื่อง และมีส่วนร่วมคัดเลือกสื่อการสอนและหนังสือเข้าห้องสมุด ครูบรรณารักษ์อำนวยความสะดวกของสถานที่ในการจัดกิจกรรม ติดตามงาน สรุปงาน และประเมินกิจกรรมร่วมกัน (4) กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นครูบรรณารักษ์มีความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ในด้านการวางนโยบายและวางแผนโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยให้กิจกรรมสอดคล้องกับมาตรฐานของห้องสมุดโรงเรียน ด้านกระบวนการอยู่ในระดับปานกลาง โดยการขอความร่วมมือจากนักเรียนเพื่อเข้าร่วมโครงการ ส่วนด้านการประเมินผลอยู่ในระดับมาก โดยให้มีการสรุปผลการดำเนินงานเมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรม (5) การเปรียบเทียบความคิดเห็นครูบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนต่อความร่วมมือในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านพบว่า ครูบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียน ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีหน้าที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อความร่วมมือในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
In this thesis, the researcher investigates problems encountered and opinions expressed by librarian teachers regarding the organization of the reading promotion activities of school libraries in the Bangkok Metropolitan area.
Pursuing a random sampling strategy, the researcher selected a sample population consisting of 253 librarian teachers employed at public and private school libraries from a total of 686. The instrument of research was a questionnaire.
Using techniques of descriptive statistics, the researcher analyzed the data collected in terms of percentage, mean and standard deviation. The techniques of independent samples t-test and F-test (one-way ANOVA) were used for the testing of hypotheses. The method of multiple comparisons using the least significant difference (LSD) technique was employed when differences were found at the statistically significant level of .05.
Findings are as follows:
1. Most of the school libraries in the Bangkok Metropolitan area have one librarian teacher working at each library. Reading promotion activities were offered once a month. Most provided knowledge tips on bulletin boards at the front of the library every month. Statistics were collected concerning student participation in reading promotion activities.
2. In analyzing problems encountered in organizing reading promotion activities, the researcher found that the subjects under study exhibited problems in an overall picture and in each aspect at a moderate level. The libraries had small and insufficient budgets for materials, books, media, and manuals for activities in comparison with the number of students. Administrators paid little attention to work or activities at the libraries. Librarian teachers could not work up to their full potential because they were engaged in other types of work besides library work, as well as having too many teaching hours. Teachers do not understand the work or activities of the libraries
3. Librarian teachers cooperated in organizing reading promotion activities. Administrators cooperated in conducting campaigns in which were shown to all concerned that reading was important, as was participation in reading promotion activities. Teachers cooperated in encouraging students to develop the habit of continuously loving to read. They also participated in the selection of teaching materials and books for libraries. Librarian teachers facilitated the provision of locations for organizing activities, conducted follow-ups, provided work summaries and they evaluated activities together.
4. The subjects under study exhibited opinions toward organizing reading promotion activities in the aspect of policy and planning in an overall picture at a high level. They saw that activities were conducted in accordance with the standards of the school libraries. The aspect of process was evinced at a moderate level through requesting cooperation from students in project participation. The aspect of evaluation was pursued at a high level in respect to summarizing what had been done operationally upon the completion of activities.
5. In comparing the opinions of the librarian teachers under study, the researcher found that those who differed in the demographical characteristics of gender, educational level, work experience and school library did not exhibit parallel differences in their opinions toward cooperation in organizing reading promotion activities. However, the subjects under investigation who differed in the demographical characteristic of duties evinced concomitant differences in their opinions toward cooperation in the organization of reading promotion activities at the statistically significant level of .05.