การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินคุณภาพซอฟต์แวร์และคุณภาพการใช้ระบบการเบิกเงินสวัสดิการ ค่ารักษาพยาบาลของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (สนง. กกต.) 2) ศึกษาความต้องการ/ความคาดหวังในการพัฒนาพัฒนาซอฟต์แวร์ของ สนง. กกต. และ 3) พัฒนาโมเดลทางคณิตศาสตร์ (สมการ) อิทธิพลของคุณภาพซอฟต์แวร์และความต้องการ/ความคาดหวังต่อคุณภาพการใช้งาน โดยใช้แบบจำลองคุณภาพซอฟต์แวร์และคุณภาพการใช้งานซอฟต์แวร์ ซึ่งประยุกต์จากกรอบมาตรฐาน ISO/IEC 25010 เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย การวิจัยนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานของ สนง.กกต. ส่วนกลางจำนวน 255 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ 1) สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) สถิติอ้างอิงเพื่อใช้ทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ ผลการวิจัยพบว่าคุณภาพซอฟต์แวร์มีความเหมาะสมในการใช้งานมากที่สุด ( x̄ =3.61, S.D.=.99) คุณภาพการใช้งานระบบด้านการปลอดพ้นจากความเสี่ยงและด้านความครอบคลุมตามบริบทการใช้งาน มีคุณภาพการใช้งานมากที่สุด ( x̄ =3.59, S.D.=.90 และ x̄ =3.59, S.D.=1.25 ตามลำดับ) พนักงานมีความต้องการ/คาดหวังในการบำรุงรักษาระบบมากที่สุด ( x̄ =3.70, S.D.=1.17) ผลการทดสอบสมมติฐานทำให้ได้สมการทั้งสิ้น 10 สมการ โดยคุณภาพซอฟต์แวร์มีอิทธิพลต่อคุณภาพการใช้งานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านความมีประสิทธิภาพ (R2 = .845) ความมีประสิทธิผล(R2 = .834) ความพึงพอใจ (R2 = .838) การปลอดพ้นจากความเสี่ยง (R2 = .797) และความครอบคลุมตามบริบทการใช้งาน (R2 = .776) ส่วนความต้องการ/ความคาดหวังให้ สนง. กกต. พัฒนาปรับปรุงซอฟต์แวร์และกระบวนการใช้งาน มีอิทธิพลต่อคุณภาพการใช้งาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านความมีประสิทธิภาพ (R2 = .798) ความมีประสิทธิผล (R2 = .842) ความพึงพอใจ (R2 = .842) การปลอดพ้นจากความเสี่ยง (R2 = .842) และความครอบคลุมตามบริบทการใช้งาน (R2 = .705)
The objectives of this thesis were 1) to evaluate the software quality of the healthcare benefits reimbursement system of the Office of the Election Commission of Thailand(OECT), 2) to evaluate the quality of use of the healthcare benefits reimbursement system of the OECT, and 3) to examine the demands and expectations for the OECT in the software development and its process of use to determine whether they affect the quality of use by utilising the model of the software and the quality of use based on the application of ISO/IEC 25010 standard framework. Data were collected using questionnaires from a sample of the OECT officers. The statistics used for data analysis include 1) descriptive statistics, consisting of mean and standard deviation, and 2) inferential statistics for testing hypotheses, which is multiple linear regression analysis. The findings indicated that software quality evaluation regarding functional usability received the highest average score ( x̄ =3.61, S.D.=.99). The assessment of the quality of use of the system showed that the aspects of freedom from risk and context coverage received the highest average scores ( x̄ =3.59, S.D.=.90 and x̄ = 3.59, S.D.=1.25 respectively). In terms of demands and expectations, maintainability received the highest average score ( x̄ =3.70, S.D.=1.17). The hypothesis testing resulted in ten equations, illustrating that the software quality affected the quality of use at a statistical significance level of .05, shown as follows: efficiency (R2 = .845), effectiveness (R2 = .834), satisfaction (R2 = .838), freedom from risk (R2 = .797) and context coverage (R2 = .776). The demands and expectations for the OECT to develop the software and its process of use significantly affect the quality of use at a statistical significance level of .05, revealed as follows: efficiency (R2 = .798), effectiveness (R2 = .842), satisfaction (R2 = .842), freedom from risk (R2 = .842) and context coverage (R2 = .705).