การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้ประกอบการ SMEs ในภาคอุตสาหกรรมอาหารในจังหวัดสมุทรปราการ 2) การยอมรับและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้ประกอบการ SMEs ในภาคอุตสาหกรรมอาหารในจังหวัดสมุทรปราการ และ 3) พัฒนาตัวแบบการยอมรับและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้ประกอบการ SMEs ในภาคอุตสาหกรรมอาหารในจังหวัดสมุทรปราการ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ประกอบการ SMEs ด้านอุตสาหกรรมอาหารในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 178 บริษัท ใช้วิธีการสุ่มแบบมีความน่าจะเป็นอย่างมีระบบ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ประกอบการ SMEs ให้การรับรู้ถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในกระบวนการทางธุรกิจของตน ความง่ายในการใช้ ในระดับมาก ผลการวิจัยชี้ว่าเมื่อบริษัทมีความพร้อมที่จะใช้เทคโนโลยีดิจิทัลก็จะดำเนินการใช้ทันที และในกรณีที่ผู้ประกอบการยังไม่พร้อมใช้แต่กลับมีแผนจะใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในอีก 1-3 เดือนข้างหน้า 2) ผู้ประกอบการกำลังเผชิญกับปัญหาด้านการขาดเงินทุนในการพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าว อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่รวดเร็วผู้ประกอบการอาจปรับตัวตามไม่ทันส่งผลให้ต้นทุนสูงขึ้น อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการมีการให้ความรู้และฝึกทักษะการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ควบคู่ไปกับการทำธุรกิจแบบดั้งเดิม และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบจัดเก็บข้อมูลเพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์และปรับปรุงกลยุทธ์ 3) ผลจากการทดสอบสมมุติฐานทำให้ได้ตัวแบบ (สมการ) การยอมรับและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจำนวน 10 ตัวแบบ (ค่า R2 อยู่ระหว่าง 40.4% - 64.5%)
This research aimed to study 1) the problems and guidelines for developing and promoting the application of digital technology by the SMEs the acceptance and application of digital technology by SMEs in the food industry in Samut Prakan Province, 2) and 3) the development of a model for the acceptance and application of digital technology by the SMEs. The sample consisted of 178 SMEs in the food industry in Samut Prakan Province, selected using systematic probability sampling. Respondents completed questionnaires about their experiences and perceptions. The research results found that: 1) SME entrepreneurs recognised the significant benefits of using digital technology in their business processes. The perceived ease of use of this technology was high. Organisations prepared to adopt digital technologies tended to implement them quickly. For those not yet ready, they planned to adopt the technology within the next 1 – 3 months. 2) Entrepreneurs faced challenges such as a shortage of funds for technology development and the rapid pace of technological change. Keeping up with technology could result in higher costs. However, entrepreneurs addressed these issues by providing knowledge and training in e-commerce skills alongside traditional business practices and improving data storage systems for better analysis and strategy development. The results of the hypothesis testing resulted in 10 models (equations) of acceptance and application of digital technology, with R² values ranging from 40.4% to 64.5%.
ดาวน์โหลด Full Paper