แบบจำลองระบบกานทภาวะสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ กรมการสื่อสารทหารกองบัญชาการกองทัพไทย

A Model of Ontology-Based System on Electroniccorrespondence of Directorate of Joint Communications Royal Thai Armed Force Headquarters

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาแบบจำลองระบบกานทภาวะ สารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ กรมการสื่อสารทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย 2) ศึกษาการยอมรับแบบจำลองระบบกานทภาวะสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ กรมการสื่อสารทหาร กองบัญชาการกองทัพ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ  ผู้วิจัยพัฒนาระบบกานทภาวะด้วยโปรแกรม Hozo-Ontology Editor เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างต้นแบบกานทภาวะที่อยู่ในรูปแบบภาษา OWL (Web Ontology Language) กับโครงสร้างฐานข้อมูล MySQL มีการประเมินผลการค้นคืน สารสนเทศจากคำค้นขั้นต้นและคำค้นขั้นสูง และประเมินการยอมรับระบบกานทภาวะสารบรรณ อิเล็กทรอนิกส์โดยใช้กรอบแนวคิด UTAUT การวิจัยนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกำลังพลทั่วไปของ กรมการสื่อสารทหาร จำนวน 321 คน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ ผลการวิจัยพบว่า 1) คำค้นพื้นฐาน 12 คำ วัดค่าความแม่นยำ (Precision) ค่าความครบถ้วน (Recall) และค่าประสิทธิภาพโดยรวม (F-measure) ได้ร้อยละ 77.28 78.79 และ 78.02 ตามลำดับ 2) คำค้นขั้นสูง 8 คำ วัดค่าความแม่นยำ (Precision) ค่าความครบถ้วน (Recall) และ ค่าประสิทธิภาพโดยรวม (F-measure) ได้ร้อยละ 76.03 78.02 และ 77.01 ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยภายนอก อาทิ ศักยภาพหลังทดลองใช้ระบบ การรับรู้ความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล นโยบายด้านดิจิทัล  ของกองบัญชาการกองทัพไทยในการสนับสนุนหรือเอื้อประโยชน์ต่อการใช้งานระบบ คุณภาพเครือข่ายและ       การเชื่อมต่อสัญญาณ ความคาดหวังในประสิทธิภาพ ความคาดหวังในความพยายามจะใช้ระบบอิทธิพลทางสังคม และเงื่อนไข การอำนวยความสะดวก มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้เชิงพฤติกรรม (R2 อยู่ระหว่าง 27.2%-54.8%) และความตั้งใจใช้เชิงพฤติกรรมมีอิทธิพลต่อการใช้งานระบบจริง (R2 เท่ากับร้อยละ 58.1)

Abstract

The study aimed to 1) analyse, design, and develop a model of an ontology-based system on electronic correspondence from the Directorate of Joint Communications Royal Thai Armed Forces Headquarters and 2) study the acceptance of electronic correspondence. The research conducted is both quantitative and qualitative. Developing the system used the program Hozo-Ontology Editor to link the relationship between the prototype structure in OWL (Web Ontology Language) and the MySQL database structure. Information retrieval was evaluated using basic and advanced search terms. Moreover, it evaluates the acceptance of the Electronic Correspondence information system using the UTAUT framework. This research used questionnaires to collect data from a sample group of 321 Department of Military Communications general personnel. The inferential statistic used for the hypothesis test is multiple linear regression analysis. The results of the research found that 1) Twelve basic search terms measured precision (Precision), completeness (Recall) and overall efficiency (F-measure) at 77.28 78.79 and 78.02 percent respectively. 2) Eight advanced search terms measured accuracy (Precision), completeness (Recall) and overall efficiency (F-measure) with 76.03% 78.02% and 77.01% respectively. The results of the hypothesis test found that external  factors (potential for using the system risk awareness digital policy and network quality) performance expectations expectations of effort to use social influence and conditions of convenience influence the behavioral intention to use (R2 is between 27.2%-54.8%). The behavioral intention influences the actual use of the system (R2 is 58.1%).

ดาวน์โหลด Full Paper