การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัญหาของธุรกรรมงานศิลปะก่อนมีการประยุกต์ใช้ Non-Fungible Token (NFT) ในธุรกรรมงานศิลปะออนไลน์ของศิลปินอิสระในประเทศไทย และความสัมพันธ์เชิงอิทธิพลระหว่างสภาพปัญหากับความตั้งใจแสดงพฤติกรรมการใช้ NFT 2) การยอมรับการใช้ NFT เพื่อประยุกต์ใช้ในธุรกรรมงานศิลปะออนไลน์ของศิลปินอิสระในประเทศไทย และ 3) พัฒนาแบบจำลองการยอมรับนวัตกรรม NFT ของศิลปินอิสระในประเทศไทย ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 530 คน ที่เป็นศิลปินอิสระที่ประยุกต์ใช้ NFT ในธุรกรรมงานศิลปะออนไลน์บนสื่อสังคมออนไลน์บนเฟซบุ๊ก “NFT and Crypto Art Thailand” ด้วยวิธีการสุ่มแบบมีความน่าจะเป็น ใช้สหทฤษฎีการยอมรับและใช้เทคโนโลยีฉบับที่ 2 (Unified Theory of Acceptance and Use of Technology 2 – UTAUT2) เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย ใช้เทคนิค การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุในการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัญหาก่อนมีการประยุกต์ใช้ NFT ในธุรกรรมงานศิลปะออนไลน์มีมาก โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับตลาดซื้อขายงานศิลปะที่อยู่ในวงแคบ ซึ่งส่งผลต่อความตั้งใจแสดงความชอบในแนวคิดที่จะใช้ NFT เพื่อการทำธุรกรรมงานศิลปะออนไลน์มากที่สุด (2) จากการทดสอบสมมติฐานพบว่าศิลปินอิสระมีการยอมรับการใช้ NFT โดยที่ความคาดหวังในประสิทธิภาพของ NFT (R2 อยู่ระหว่าง 40.8% - 49.3%) ความคาดหวังในความพยายามใช้ (R2 อยู่ระหว่าง 28.2% - 54.8%) อิทธิพลทางสังคม (R2 อยู่ระหว่าง 29.3% - 49.6%) สภาพสิ่งอำนวยความสะดวก (R2 อยู่ระหว่าง 19% - 42.8%) สภาพปัญหาก่อนมีการประยุกต์ใช้ NFT (R2 อยู่ระหว่าง 15.5% - 35.4%) ส่งผลต่อความตั้งใจแสดงพฤติกรรมการใช้ ตามด้วยสภาพสิ่งอำนวยความสะดวกส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้จริง (R2 อยู่ระหว่าง 22.1% - 56.8%) และความตั้งใจแสดงพฤติกรรมการใช้ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้จริง (R2 อยู่ระหว่าง 25.1% - 65.5%) (3) ผู้วิจัยได้นำผลการทดสอบสมมติฐานมาพัฒนาเป็นแบบจำลอง (สมการ) การยอมรับนวัตกรรม NFT ของศิลปินอิสระในประเทศไทย ได้จำนวนรวมทั้งสิ้น 20 สมการ
This research aimed 1) to explore the problems associated with art transactions before the implementation of NFT in online art transactions of independent Thai artists and to examine the relationship between these problems and the artists' intention to use NFT, 2) to investigate the artists' acceptance of NFT in online art transactions, and 3) to develop a model for accepting NFT innovation among independent artists in Thailand. This study used a probabilistic random sampling method to gather data from 530 independent artists who utilized NFT in online art transactions on the "NFT and Crypto Art Thailand" Facebook group. The research employed the Unified Theory of Acceptance and Use of Technology 2 (UTAUT2) as its conceptual framework and utilized multiple linear regression analysis techniques to test the hypotheses. The results revealed that problems existed before the implementation of NFT in online art transactions, mainly due to the small scale of the art trading market. Although they showed interest, this affected the artists' intention to use NFT. The hypothesis testing results showed that independent artists had accepted using NFT, comprising the factors of performance expectancy (R2 ranging from 40.8% - 49.3%), effort expectancy (R2 ranging from 28.2% - 54.8%), social influence (R2 is between 29.3% - 49.6%), facility conditions (R2 is between 19% - 42.8%), and problem conditions before the application of NFT (R2 is between 15.5% - 35.4%) influencing behavioral intention. Facility conditions affected actual use behavior (R2 is 22.1% - 56.8%), and behavioral intention affected actual use behavior (R2 is 25.1% - 65.5%). The hypothesis testing led to 20 equations/models.
ดาวน์โหลด Full Paper