การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) พัฒนาเเอปพลิเคชันสุขภาพเพื่อบริการสารสนเทศสำหรับกลุ่มอาการ โรคออฟฟิศซินโดรม และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ต่อแอปพลิเคชันฯ ดำเนินการวิจัย 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบและประเมินความต้องการแอปพลิเคชันฯ รวมถึงนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแอปพลิเคอชันฯ 2) ออกแบบและพัฒนาเเอปพลิเคชันฯ 3) ประเมินการใช้งานเเอปพลิเคชันฯ โดยผู้เชี่ยวชาญ (IOC) จำนวน 3 ท่าน และระยะที่ 2) ทดลองใช้เพื่อประเมินความพึงพอใจเเอปพลิเคชันฯ จากกลุ่มทดลองจำนวน 30 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย คือ แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชันฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยแสดงการนำผลการวิเคราะห์องค์ประกอบและประเมินความต้องการไปออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชัฯ ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบและประเมินความต้องการะแอปพลิเคชันฯ มีข้อเสนอแนะให้ออกแบบฟังก์ชันไม่ให้ซับซ้อนปรับการใช้สีที่สบายตาการประเมินการใช้งานจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับ 0.67-1.00 การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้เเอปพลิเคฯ พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x̅= 4.31 , SD = 0.10) โดยเรียงลำดับจากด้านที่มีคะแนนความพึงพอใจสูงสุด ได้แก่ด้านประโยชน์ของแอปพลิเคชัน (x̅= 4.54 , SD = 0.27) การใช้งานของแอปพลิเคชัน (x̅ = 4.23,SD = 0.12) และด้านเนื้อหาองค์ประกอบหน้าจอและรูปแบบของแอปพลิเคชัน (x̅ = 4.17,SD =0.16) ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่ากลุ่มทดลองใช้แอปพลิเคชันฯ มีความพึงพอใจในการใข้เเอปพลิเคชันสุขภาพเพื่อบริการสารสนเทศสำหรับกลุ่มอาการ โรคออฟฟิศซินโดรม
This aims of this research are as follows: (1) to develop a health mobile application to provide knowledge regarding office syndrome; and (2) to study the satisfaction of users by conducting research in two phases:Phase1:(1)analyzing and evaluating components, including suggestions for improvement;(2)designing and developing a health application; (3)evaluating application usage by three experts.Phase 2: assessing the satisfaction of the users who tested the application with a sample group of 30 people.The sample group was selected using the purposive sampling method.The data was analyzed using percentage, mean, and standard deviation.The research results showed the use of the findings of component analysis and needs assessment to design and improve a health application., there were several suggestions:(1)to design uncomplicated functions;(2) to use colors that are comfortable for the eyes.The usability evaluation from experts was at 0.67-1.00. It was found from the user satisfaction assessment of the application, it was found that the experimental group had a high mean level of satisfaction (x̅= 4.31,SD = 0.10),sorted from the aspects with the highest satisfaction score: the usefulness of the application (x̅= 4.54,SD = 0.27), the usability of the application (x̅= 4.23, SD = 0.12),and content, screen elements and the application format (x̅= 4.17,SD = 0.16).There are additional suggestions from the informants that the application regarding self-care knowledge,solutions and guidelines for self-care issues, as well as monitoring the risk of office syndrome.
ดาวน์โหลด Full Paper