การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ : กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น วัดหนามแดง ตำบลหนามแดง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา

Museum Management for Learning Resources: A Case Study of the Local Museum at Nam Daeng Temple, Nam Daeng Sub-district, Mueang District, Chachoengsao Province

บทคัดย่อ

        บทความวิจัยเรื่องการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ : กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดหนามแดง ตำบล หนามแดง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดหนามแดงให้เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวชุมชน และนำเสนอแนวทางในการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดหนามแดงให้เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวชุมชน เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก  ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่คณะกรรมการดำเนินงานด้านพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดหนามแดง จำนวน 10 ท่าน ประกอบด้วย ประธาน กรรมการ และเลขานุการ  ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้หลักการวิเคราะห์เนื้อหา จำแนกและจัดกลุ่มข้อมูล นำมาเชื่อมโยงหาความสอดคล้องและความสัมพันธ์ของข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา
        ผลการวิจัยพบว่า การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดหนามแดงมีนโยบายจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เพื่อแหล่งรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นมีการจัดเก็บของเก่าแก่ของชุมชน เครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรในสมัยอดีตโดยได้รับงบประมาณน้อย พิพิธภัณฑ์ไม่มีผู้เชี่ยวชาญในการจัดและออกแบบพิพิธภัณฑ์ หลังเกิดสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ยังไม่มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว ไม่มีการประชาสัมพันธ์เชิงรุกในสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ  มีปราชญชาวบ้านและคนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการถ่ายทอดความรู้ให้กับนักท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมฟรี  มีการประสานกับหน่วยงานภาครัฐและผู้นำชุมชน ไม่มีการสร้างเครือข่ายภายนอก ไม่มีระบบการประเมินผล พิพิธภัณฑ์ต้องการการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐในการบริหารจัดการ
        แนวทางในการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดหนามแดงให้เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนมีนโยบายที่ชัดเจนในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนเพื่อมุ่งให้ประโยชน์ต่อชุมชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป จัดให้มีบุคลากรประจำที่มีความรู้ในงานด้านพิพิธภัณฑ์ การจัดกิจกรรมตามวันสำคัญต่าง ๆ  การทำประชาสัมพันธ์เชิงรุกผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาช่วยในการประชาสัมพันธ์ให้
​มากขึ้น  การประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน มีจุดลงทะเบียนสำหรับผู้เข้าชมเพื่อเก็บสถิติและประเมินผลการดำเนินงาน จัดทำแผนงบประมาณเพื่อของบสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน

Abstract

       The purposes of the research article on museum management for a learning resource: a case study of the local museum at Nam Daeng Temple, Nam Daeng Sub-district, Mueang District, Chachoengsao province were to study the management of the Wat Nam Daeng Local Museum as a learning resource for community tourism and to present guidelines for the management of the Wat Nam Daeng Local Museum as a learning resource for community tourism. The research was qualitative. Data were collected using in-depth interviews. The key informants were the 10 members of the Wat Nam Daeng Local Museum Executive Committee, including the chairman, committee members, and secretary. The researcher used content analysis approaches to analyze qualitative data from in-depth interviews, classified and categorized data, and connected them to find data consistency and relationships using descriptive analysis.
       The study findings revealed that the management of the Wat Nam Daeng Local Museum had a policy to establish a museum as a source of local wisdom by collecting community antiques and implements used in agricultural occupations in the past. The museum was allocated a restricted budget and no experts to organize and design it. After the COVID-19 pandemic, there have been no tourism promotion activities, or proactive public relations on various social media. There were local scholars and community members who participated in transferring knowledge to tourists. The museum was free to visit. There was cooperation between government agencies and community leaders, but there was no external networking and no evaluation system. The museum needed budget support from the government for management.
        The guidelines for managing the Wat Nam Daeng Local Museum as a learning resource for community tourism were as follows: had an obvious policy to establish the museum as a community learning resource for the benefit of the community, students, and the general public; provided permanent personnel with knowledge in museum work; organized activities on important days; conducted proactive public relations through online media channels; provided more opportunities for the public to help with public relations; coordinated with government and private agencies; had a registration point for visitors to collect statistics and evaluate operations; and prepared a budget plan to request support from government and private agencies.  

ดาวน์โหลด Full Paper