บทความนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาระดับทักษะการเข้าถึงสื่อดิจิทัลของผู้พิการไทยในมิติความพิการและการเข้าถึงสื่อดิจิทัล และศึกษาความแตกต่างของทักษะการเข้าถึงสื่อดิจิทัลของผู้พิการไทยในมิติความพิการและการเข้าถึงสื่อดิจิทัล ใช้ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณแบบวิจัยภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้พิการไทย จำนวน 750 คน จากชุดข้อมูลทุติยภูมิรายบุคคลจากโครงการการสำรวจสถานภาพการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและการเข้าใจดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ.2566 ของสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา โดยใช้ตารางไขว้ และทดสอบความแตกต่างของทักษะการเข้าถึงสื่อดิจิทัลด้วยค่าสถิติ One-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 2 ใน 3 ของผู้พิการทางกายและการเคลื่อนไหวที่เข้าถึงสื่อเพื่อการเล่นเกมส์ มีทักษะการเข้าสื่อดิจิทัลอยู่ในระดับดีมาก ส่วนผู้พิการไทยที่มีความพิการทางการได้ยินและสื่อความหมายและเข้าถึงสื่อเพื่อการเรียนรู้ มีทักษะการเข้าสื่อดิจิทัลอยู่ในระดับดีมาก เช่นเดียวกันกับผู้พิการไทยที่มีความพิการทางการมองเห็นและเข้าถึงสื่อเพื่อการเรียนรู้ ส่วนใหญ่มีทักษะการเข้าสื่อดิจิทัลอยู่ในระดับดีมาก และ 1 ใน 3 ของผู้ที่มีความพิการมากกว่า 1 ประเภทและเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ มีทักษะการเข้าสื่อดิจิทัลอยู่ในระดับดีมาก ในขณะที่ผู้พิการไทยที่ไม่มีอุปกรณ์เพื่อการเข้าถึงสื่อดิจิทัล ส่วนใหญ่มีทักษะการเข้าถึงสื่อดิจิทัลต่ำกว่าระดับดี ส่วนผลการศึกษาความแตกต่างของทักษะการเข้าถึงสื่อดิจิทัลในมิติความพิการ พบว่า ผู้พิการไทยที่มีความพิการต่างกัน มีทักษะการเข้าถึงสื่อดิจิทัลแตกต่างกัน ซึ่งมีเพียงผู้พิการทางกายและการเคลื่อนไหวที่มีทักษะการเข้าถึงสื่อดิจิทัลสูงกว่าผู้พิการทางการมองเห็นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณามิติการเข้าถึงสื่อดิจิทัล พบว่า ผู้พิการไทยที่มีการเข้าถึงสื่อดิจิทัลต่างกัน มีทักษะการเข้าถึงสื่อดิจิทัลแตกต่างกัน ซึ่งผู้พิการไทยที่เข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ สื่อเพื่อการเล่นเกมส์ และสื่อเพื่อการเรียนรู้ มีทักษะการเข้าถึงสื่อดิจิทัลสูงกว่าผู้พิการไทยที่ไม่มีอุปกรณ์เพื่อเข้าถึงสื่อดิจิทัล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
The objectives of the study are to investigate the level of digital access skills of Thai people with disability across the dimensions of disability and digital access, and investigate the difference of digital access skills among Thai people with disability in terms of disability and digital access. This employed a quantitative research methodology with cross-sectional research approach. The sample group included 750 Thai people with disabilities drawn from individual secondary data sets from the Thailand Media and Information Literacy and Digital Literacy Status Survey 2023 project of The Office of National Committees of Digital Economy and Society. The data was gathered with interview form and analyzed using descriptive statistics with a cross-tabulation and test differences in digital access skills with One-way ANOVA statistics. The research results found that two-thirds of people with physical and mobility disabilities accessed gaming media were very good at digital skills. Thai people with hearing and communication difficulties had access to media for learning has excellent digital skills as well as Thai disabled people who are visually impaired. And 1 in 3 people had more than one type of disability and access social media were very good at digital skills. While Thai disabled individuals did not have devices to access digital media, most of them had low level of the digital access skills. In term of differences in digital access skills in the disability dimension was found that Thai disabled people with different disabilities, they had different level of the skills in accessing digital media. There was only those with physical and mobility disabilities had higher digital access skills than those with visual impairments at a statistical significance of 0.05. Considering the dimension of digital access found that Thai disabled people had different access to digital media, they had different skills in accessing digital media which Thai disabled people had access to social media, games and media for learning, they had higher skills in digital access than Thai disabled people who do not had devices to access digital media at a statistical significance of 0.05.
ดาวน์โหลด Full Paper