การแบ่งปันความรู้เพื่อการแก้ปัญหาในช่วงวิกฤติและหลังสถานการณ์ โควิด-19 ของผู้นำชุมชนอำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล

Knowledge sharing for problem solving during the crisis and post the COVID-19 situation of community leaders in Khuan Kalong District, Satun Province

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยที่ได้การสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ สัญญาเลขที่ A17F650113  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ของประชาชนในอำเภอควนกาหลง  และเพื่อถอดบทเรียนเกี่ยวกับการแบ่งปันความรู้เพื่อการเผชิญปัญหาในช่วงเวลาระหว่างและหลังสถานการณ์ โควิด-19 ด้วยระเบียบวิธีวิจัยผสมผสานซึ่งใช้การวิจัยเชิงปริมาณร่วมกับเชิงคุณภาพ คณะผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีเชิงปริมาณจากกลุ่มสมาชิกชุมชนตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล จำนวน 294 คนด้วยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบสอบถาม ส่วนการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเป็นวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เพื่อการรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลักซึ่งเป็นผู้นำชุมชนในพื้นที่ควนกาหลงจำนวน 21 คน  ผลวิจัยพบว่าอำเภอควนกาหลง เป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์มากที่สุดประมาณตำบลละ 2,000 คน โดยเฉลี่ยหมู่บ้านละ 100-200 คน จำนวนผู้ติดเชื้อสูงสุดอยู่ที่ หมู่ที่ 4 ตำบลควนกาหลง มีจำนวนผู้ติดเชื้อก่อนสายพันธุ์โอมิครอน 800 คน ซึ่งส่งผลกระทบที่สำคัญคือ  รายได้ ความช่วยเหลือของภาครัฐในการเพิ่มรายได้ ประชาชนไม่สามารถปรับตัวกับกิจวัตรประจำวันวิถีใหม่ รวมถึงการดูแลตนเองและบุคคลในครอบครัวที่ยากลำบาก  ในระหว่างที่ประชาชนในอำเภอควนกาหลงอยู่ระหว่างการเผชิญปัญหาสถานการณ์โควิด-19ที่รุนแรงนี้ ผู้นำชุมชนได้แบ่งปันความรู้เพื่อการแก้ไขสถานการณ์โดยตรงเกี่ยวกับโรคระบาด ผู้ติดเชื้อ และการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ การกินอยู่ของประชาชนที่แร้นแค้น ขาดรายได้เพราะไม่สามารถกรีดยาง ตัดปาล์มได้ แอปพลิเคชั่นไลน์ เสียงตามสายจากมัสยิด เป็นช่องทางสำคัญเพื่อสื่อสารกับสมาชิกของชุมชนเรื่องแนวปฏิบัติที่สำคัญ และหลังสถานการณ์โควิดสารสนเทศเรื่องการเก็บออมเงินเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องส่งเสริมอย่างจริงจังเพื่อเตรียมพร้อม ไว้เมื่ออาจเจอวิกฤติในวันข้างหน้า การไม่ตั้งอยู่บนความประมาท มีความระมัดระวังในการใช้ชีวิตมากขึ้น 

Abstract

    The research is part of a research project funded by Thailand Science Research and Innovation (TSRI) and Program Management Unit on Area Based Development (PMU A) the contract number is A17F650113. The objective is to study the impact of the COVID-19 situation of people in Thung Nui Subdistrict and to extract lessons about knowledge sharing for coping during and after the COVID-19situation.  A mixed research method which combines the methodology of quantitative along with qualitative method.  Researchers collected data from 294 people by utilizing quantitative methods from Thung Nui Subdistrict community members in Khuan Kalong district, Satun Province using structured interviews and questionnaires. In-depth interview section Semi-structured interviews are a qualitative research method which were used to collect information from 21 key informants who were community leaders in the Kuan Kalong district.  Findings revealed that the Kuan Kalong district It is the area most affected by the situation, with approximately 2,000 people per subdistrict, with an average of 100-200 people per village. The highest number of infected people is at Moo 4, Kuan Kalong district, where there are 800 people infected before theSARS-CoV-2 Omicron variant.  The main impact is on income, government assistance in increasing. People are unable to adjust to the new normal daily routine. Including taking care of yourself and family members who are in difficult situations. Meanwhile, the people of Kuan Kalong district are in the process of facing this severe COVID-19 situation. Community leaders organized information to directly solve the situation regarding epidemics, infected people, and solving economic problems. Line application is an important channel for communicating with community members about prevention practices. And after the COVID situation, information about saving money is an important matter that must be promoted seriously to be prepared for when there may be an expected crisis in the future.

ดาวน์โหลด Full Paper