การศึกษาเปรียบเทียบการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ของเครื่องมือวิจัยด้วยเทคนิค IOC, CVR และ CVI

A Comparative Study of Verifying the Content Validity of a Research Instrument with the IOC, CVR and CVI

บทคัดย่อ

        บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายและเปรียบเทียบการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือวิจัยด้วย IOC, CVR และ CVI โดยเปรียบเทียบใน 8 ประเด็น ได้แก่ 1) ผู้ริเริ่มและปีที่ริเริ่ม 2) จำนวนผู้เชี่ยวชาญที่ต้องใช้ในการพิจารณาเครื่องมือ 3) เกณฑ์การให้คะแนน 4) เกณฑ์การตัดสินการใช้ได้ของข้อคำถาม 5) การใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของข้อคำถามเป็นรายข้อ 6) การใช้ในการพิจารณาคุณภาพของเครื่องมือทั้งฉบับ 7) จุดเด่น และ 8) ข้อจำกัด ผลการเปรียบเทียบทั้ง 8 ประเด็น พบว่า ทั้ง IOC, CVR, และ CVI ต่างมีความแตกต่างกันในทุกๆ ประเด็น จึงนำไปสู่การสรุปความเห็นของผู้เขียนว่าทั้ง IOC, CVR และ CVI ต่างมีหลักเกณฑ์ มีจุดเด่น และข้อจำกัดในตัวของตัวเอง มิได้มีวิธีการใดที่ดีหรือเหมาะสมที่สุดในการนำไปใช้ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัย หากนักวิจัยเลือกที่จะใช้วิธีการใดแล้วพึงต้องศึกษารายละเอียดของหลักเกณฑ์หรือหลักการของวิธีนั้นๆ เพื่อจะได้อ้างอิงหรือใช้ได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

Abstract

        This article aims to describe and compare the content validation of a research instrument with the IOC, CVR, and CVI methods in eight main issues: 1) the pioneers and the proposed years, 2) the number of content experts evaluating an instrument, 3) the values range, 4) the criteria for evaluating the validity of questions, 5) the verification of the validity of each question, 6) the verification of the validity of a questionnaire, 7) the strengths, and 8) the limitations. The results reveal that the three methods are different in every aspect. It can be concluded that the IOC, CVR and CVI have their criteria, strengths, and limitations. Therefore, there is no most suitable method for verifying the validity of research instruments. However, a researcher who chooses to use any technique should study the criteria or principles of that method in detail to be able to cite or use correctly according to academic principles.

ดาวน์โหลด Full Paper