การใช้วารสารวิชาการในรูปแบบสิ่งพิมพ์และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

The Uses of Printed and Electronic Academic Journals by Graduate Students in Faculty of Law, Ramkhamhaeng University

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการใช้วารสารวิชาการในรูปแบบสิ่งพิมพ์และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (2) เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการใช้วารสารวิชาการในรูปแบบสิ่งพิมพ์และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์กับปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 144 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า
        นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงมีระดับความคิดเห็นต่อปัญหาการใช้วารสารวิชาการในรูปแบบสิ่งพิมพ์ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านและรายข้อ พบว่า นักศึกษามีปัญหาด้านการใช้ คือ วารสารวิชาการ ชื่อเรื่อง/เล่มที่ต้องการ ไม่มีในสำนักหอสมุดกลาง/ห้องสมุดคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 
        นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงมีระดับความคิดเห็นปัญหาการใช้วารสารวิชาการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านและรายข้อ พบว่า นักศึกษามีปัญหาด้านการสืบค้น 2 ข้อ ได้แก่ มีปัญหาในการใช้คำหรือวลีในการสืบค้นบทความในวารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นภาษาต่างประเทศ และ สืบค้นวารสารจากอินเทอร์เน็ตโดย Search engine เช่น Google เป็นต้น ได้ข้อมูลไม่ตรงตามความต้องการหรือได้ข้อมูลเป็นจำนวนมาก ทำให้เสียเวลาในการคัดเลือก 
        ผลการทดสอบสมมติฐานเปรียบเทียบปัญหาการใช้วารสารวิชาการในรูปแบบสิ่งพิมพ์และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการใช้ ด้านการสืบค้น และด้านการให้บริการกับปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา  อายุ และอาชีพ พบว่า ไม่แตกต่างกันทุกด้าน สรุปได้ว่า การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ สนับสนุนและสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้

Abstract

      This study is a survey research with the following objectives: (1) To study the uses of printed and electronic academic journals by graduate students in the Faculty of Law, Ramkhamhaeng University. (2) To compare problems of using printed and electronic academic journals with personal factors of graduate students in the Faculty of Law, Ramkhamhaeng University.
       The sample used in this research were a total of 144 graduate students in the Faculty of Law, Ramkhamhaeng University of the academic year 2019. The research instrument was a questionnaire that was tested for the quality of the instrument with a confidence value of 0.91.  The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and One-way ANOVA. The statistical significance was determined at a level of .05.
       The research results indicated as follows. 
       Graduate students in the Faculty of Law, Ramkhamhaeng University had levels of opinions on the problems of using printed academic journals in overall image and each aspect at a moderate level. When considering each aspect and by each item, it was found that the graduate students had the problems in using academic journals, required journal  titles, no required journals in the Central Library / the Library of the Faculty of Law, Ramkhamhaeng University.
       Graduate students in the Faculty of Law, Ramkhamhaeng University had levels of opinions on the problems of using electronic academic journals in overall image and each aspect at a moderate level. When considering each aspect and by each item, it was found that the graduate students had two problems in searching including the problem of using words or phrases for searching articles in electrical journals in foreign languages and searching for journals through the Internet by search engines, such as Google, receiving unrequired information or receives large amounts of information that causes wasting time in selection.
        According to the results of the hypothesis test for comparing the problem of using printed and electronic academic journals in three aspects, namely usage, searching and providing services with personal factors such as gender, education level, age and occupation, there were no difference in all aspects. It can be concluded that the data collection in this research has supported in accordance with the determined research hypotheses.

ดาวน์โหลด Full Paper