การพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพประสิทธิผลอุปกรณ์ IoT เพื่อการสื่อสารระหว่างผู้สูงอายุป่วยติดเตียงกับผู้ดูแล

A Development and Evaluation of Efficiency/Effectiveness of an IoT Device for Communicating between Bed-sick Elderly Patients and Caregivers

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาอุปกรณ์ IoT เพื่อการสื่อสารระหว่างผู้สูงอายุป่วยติดเตียงกับผู้ดูแล และ 2) ประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของอุปกรณ์ IoT ดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างเป้าหมายที่เป็นผู้ทดลองใช้อุปกรณ์ ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยติดเตียงและผู้ดูแลที่มีถิ่นพำนักในเขตอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก จำนวนกลุ่มละ 30 คน รวมทั้งสิ้น 60 คน ผู้วิจัยใช้ Arduino Software (IDE) Version 1.8.5 เป็นเครื่องมือในการพัฒนาอุปกรณ์ จากนั้นนำอุปกรณ์ไปทดลองใช้กับผู้สูงอายุป่วยติดเตียงและผู้ดูแล และใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลประสิทธิภาพและประสิทธิผลของอุปกรณ์ ผลการวิจัยทำให้ได้อุปกรณ์ IoT ที่ปฏิบัติงานได้ตามวัตถุประสงค์ เมื่อนำไปทดลองใช้พบว่า ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ส่งผลต่อระดับประสิทธิผลจากการใช้งาน โดยที่ผู้ป่วยสูงอายุติดเตียงเห็นว่าประสิทธิภาพของอุปกรณ์ส่งผลต่อปุ่มกดบนอุปกรณ์ให้สามารถสื่อสารกับผู้ดูแลได้ตามต้องการทุกประการ ขณะเดียวกันผู้ดูแลเห็นว่าประสิทธิภาพของอุปกรณ์ส่งผลต่อขีดความสามารถของอุปกรณ์ในการสื่อสารกับผู้สูงอายุติดเตียงได้ตลอด 7 วัน / 24 ชั่วโมง ทั้งนี้เป็นเพราะประสิทธิภาพในแต่ละด้านของผู้ทดลองทั้งสองกลุ่มแตกต่างกัน กล่าวคือ ผู้สูงอายุป่วยติดเตียงให้ความสำคัญกับความสามารถในการสื่อสารกับผู้ดูแลภายหลังกดปุ่ม ในขณะที่ผู้ดูแลให้ความสำคัญกับการได้รับสัญญาณผ่านแอปพลิเคชันไลน์ทันทีที่ผู้สูงอายุกดปุ่ม ผลจากการทดสอบสมมติฐานทำให้ได้ตัวแบบอิทธิพลของประสิทธิภาพต่อประสิทธิผลจำนวน 2 ตัวแบบ

Abstract

       The objectives of this research are to) analyze, design, and develop an IoT device for communicating between bed-sick elderly patients and caregivers, and 2) evaluate the efficiency and effectiveness of the device. The 60 research samples 30 bed bound elderly patients and 30 caregivers living in Phrom Phiram district, Phitsanulok province, Thailand used the device then evaluated the device efficiency and effectiveness. Arduino Software (IDE) Version 1.8.5 was used as a device development tool. The structural interviewing questionnaires were used for gathering data on the efficiency and effectiveness of the device from the samples. The results of the research provided the IoT device which are available as intended. After the device had been on trial, found that the efficiency influences the effectiveness. The bed bound elderly patients pointed out that the effectiveness of the device influences the keypad on the device which they are able to communicate with caregivers in all aspects. Meanwhile, the caregivers pointed out that efficiency influences the ability of the device in terms of 7/24 communication with the patients. The hypothesis testing resulted in 2 models of influence of effectiveness on effectiveness.

ดาวน์โหลด Full Paper