ประสิทธิผลการสืบค้นฐานข้อมูลดรรชนีวารสารภาษาไทยของผู้ใช้บริการ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

The Retrieval Effectiveness of Thai Journal Index Database, Ramkhamhaeng University Library

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการใช้ฐานข้อมูลดรรชนีวารสารภาษาไทย (Thai Journal Index--TJI) ของผู้ใช้บริการ (2) เปรียบเทียบประสิทธิผลของการใช้เงื่อนไขต่างๆ ในการสืบค้นฐานข้อมูล TJI ของผู้ใช้บริการ และ (3) ปัญหาในการใช้ฐานข้อมูล TJI ของผู้ใช้บริการ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ใช้บริการที่มาใช้ฐานข้อมูล TJI ภายในสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน (One-Way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธี Fisher’s Least Significant Difference (LSD)
        ผลการวิจัย พบว่าผู้ใช้บริการใช้ฐานข้อมูล TJI เพื่อทำรายงานประกอบการเรียนมากที่สุด ร้อยละ 51.50 ใช้วิธีเรียนรู้การใช้ฐานข้อมูลด้วยตนเอง ร้อยละ 71.80 และสืบค้นฐานข้อมูล TJI ด้วยตนเอง ร้อยละ 94.00 ความถี่ในการใช้ฐานข้อมูล TJI ไม่แน่นอน ร้อยละ 50.30 เข้าใช้ฐานข้อมูล TJI ในช่วงเวลา 09.00-12.00 น. มากที่สุด ร้อยละ 36.00 สาขาวิชาที่เข้าใช้มากที่สุดคือ สาขานิติศาสตร์ ร้อยละ 38.50 และมีความต้องการใช้ข้อมูลทางบรรณานุกรมที่เป็นฉบับล่าสุด มากที่สุด ร้อยละ 33.00  ในกรณีที่ไม่พบบทความวารสารผู้ใช้บริการจะสอบถามบรรณารักษ์ ร้อยละ 77.00 มีความต้องการเนื้อหาฉบับเต็ม  ร้อยละ 76.50 และมีความต้องการหน้าจอสืบค้นฐานข้อมูล TJI โดยเฉพาะไม่รวมกับการสืบค้นฐานข้อมูลอื่นๆ  ร้อยละ 77.30 เงื่อนไขที่ใช้ในการสืบค้นฐานข้อมูล TJI มากที่สุดคือ ชื่อบทความ ร้อยละ 20.00  ประสิทธิผลในการสืบค้นฐานข้อมูล TJI พบว่า การใช้เงื่อนไข ชื่อบทความ มีประสิทธิผลมากที่สุด รองลงมาคือ  คำสำคัญ และชื่อผู้แต่ง ส่วนการใช้ตรรกบูลีน มีประสิทธิผลน้อยที่สุด  ปัญหาในการใช้ฐานข้อมูล TJI  โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาด้านการสืบค้นสูงสุด คือ ผู้ใช้บริการไม่ทราบว่าจะใช้ทางเลือกใดในการสืบค้น ปัญหาด้านการใช้บริการสูงสุด คือ คอมพิวเตอร์ที่ให้บริการสืบค้นมีความเร็วไม่เพียงพอ และผลการวิจัย พบว่า การใช้เงื่อนไขการสืบค้นฐานข้อมูล TJI แตกต่างกันให้ประสิทธิผลแตกต่างกันสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้                       

Abstract

        This survey research had the following objectives: (1) To study user behaviors using the TJI database; (2)To compare the retrieval effectiveness of using various conditions for searching the TJI database; and (3) To identify user problems in using the TJI database. A sample consisted of 400 library users who used the TJI database at Ramkhamhaeng University Library. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation. One-Way ANOVA was conducted for hypothesis testing, and Fisher’s Least Significant Difference (LSD) method was used for pairwise comparisons.
        The study showed the following results. The majority of the TJI database users in the sample used the database for assignment report writing (51.50%). They learned how to use the database by themselves (71.80%). and performed searches by themselves (94.00%). In terms of usage frequency, it was found that (50.30%). of the sample used the TJI database with uncertain frequency. The majority (36.00%) used the TJI database during 09.00-12.00 hrs. Members from the Faculty of Law were the major group of users (38.50%). About one-third of the sample (33.00%) expressed the need for the most current bibliographic information. When users could not find the needed articles, (77.00%) would seek help from librarians. The majority (76.50%) required articles in full text, and (77.30%) required a separate screen for searching the TJI database. The most used access point for article searching was by title (20.00%). 
        The study results of the retrieval effectiveness of using various conditions for searching the TJI database indicated that the use of title search was the most effective, followed by keyword search and author search. Using Boolean search operators was the least effective. Overall, the problems of using the TJI database were at a moderate level. The most common problem of searching was that database users did not know which search option to be used. The most common problem of using the services was the insufficient speed of computers. The hypothesis which proposed that the use of different conditions for searching the TJI database gave different retrieval effectiveness was tested and confirmed. 

ดาวน์โหลด Full Paper