การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สิทธิความเป็นส่วนตัวบนสื่อสังคม และ 2) กลไกปกป้องความเป็นส่วนตัวบนสื่อสังคม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยรังสิต จำนวน 263 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ก) สถิติพื้นฐาน (การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และ ข) สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวน 3 ทาง (3-Way ANOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ก) ระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการถูกละเมิดความเป็นส่วนตัวผ่านสื่อสังคม ขึ้นกับอิทธิพลร่วม ของช่วงระยะเวลาในการใช้สื่อสังคมในรอบวันกับการตอบสนองต่อคำสั่งงานของผู้บังคับบัญชาข) การตอบสนองต่อคำสั่งงานของผู้บังคับบัญชาขึ้นกับอิทธิพลร่วมระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการถูกละเมิดความเป็นส่วนตัวผ่านสื่อสังคม ค) การใช้ฟังก์ชันระบุพิกัดของตนเอง ณ สถานที่ต่างๆ ฟังก์ชันการโพสต์และการแบ่งปันข้อมูลในรูปแบบไม่เป็นสาธารณะ และการตั้งค่าเพื่อกำหนดบุคคลให้สามารถค้นหาบัญชีสื่อสังคมของตัวตน ขึ้นกับระดับการศึกษา ง) การใช้ฟังก์ชันระบุพิกัดของตนเอง ณ สถานที่ต่างๆ และการใช้ฟังก์ชันการยืนยันตัวตนแบบสองชั้นขึ้นกับอายุงาน จ) การใช้ฟังก์ชันการเปิดบัญชี การเชื่อมโยงระหว่างแอปพลิเคชันสื่อสังคมต่างๆ อาทิ Facebook, Instagram, Twitter ขึ้นกับอายุงาน และ ฉ) การใช้ฟังก์ชันการตั้งค่าเพื่อกำหนดบุคคลให้สามารถค้นหาบัญชีสื่อสังคมของตัวตนขึ้นกับเพศสภาพ
This research aimed to study 1) Social media privacy rights, and 2) Privacy protection mechanisms on social media. The study was a quantitative research using questionnaires as research tools for gathering data from 263 respondents, supporting officers working at Rangsit University. Statistics used for analyzing empirical data from the returned questionnaires were a) basic statistics: frequency, percentage, mean, standard deviation; b) inferential statistics for testing hypotheses: 3-way ANOVA (analysis of variance) and ANCOVA (analysis of covariance). The test resulted that a) levels of knowledge and understandings on social media privacy and its violation of privacy rights influenced by periods of daily use of social media and responding to the chief’s commands; b) responding to the chief’s commands influenced by the levels of knowledge and understandings on social media privacy and its violation of privacy rights; c) capability to set up GPS, security post and sharing, two levels of confirmation identities depending on levels of education; d) GPS setting and two levels of confirmation identities depending on work experiences; e) personal account setting, linkage among Facebook, Instagram, Twitter depending on work experiences, f) using the settings function to determine individual searching for its own social media accounts depends on gender.
ดาวน์โหลด Full Paper