ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีและคุณภาพซอฟต์แวร์ ที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการใช้แอปพลิเคชันกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

บทคัดย่อ

        ในปัจจุบันรูปแบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ความนิยมเพิ่มขึ้นสืบเนื่องมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเงิน  ส่งผลให้เกิดคำถามว่า นวัตกรรมการชำระเงินด้วยแอปพลิเคชันกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์มีประสิทธิภาพจริงหรือไม่  และเป็นที่ยอมรับกันหรือไม่เพียงไร โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของลักษณะทางประชากรศาสตร์กับพฤติกรรมการใช้งาน 2) เพื่อศึกษาความแตกต่างของลักษณะทางประชากรศาสตร์ต่อการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานซอฟต์แวร์ ISO/IEC 9126 3) เพื่อศึกษาความแตกต่างของลักษณะทางประชากรศาสตร์ ต่อการยอมรับต่อเทคโนโลยีการใช้งาน และ 4) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านมาตรฐานคุณภาพซอฟต์แวร์ ISO/IEC 9126 และการยอมรับเทคโนโลยีการใช้งานที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการใช้งาน e-Wallet กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้ เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ที่มีประสบการณ์ใช้งานแอปพลิเคชันกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 400 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบออนไลน์และแบบกระดาษ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ที่เป็นเพศหญิง มีการเลือกใช้แอปพลิเคชันกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) ของบริษัท ทรู มันนี่ จำกัด คือ TrueMoney Wallet (TrueMove H) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ Rabbit Line Pay พบว่า ผู้ใช้งานแอปพลิเคชันส่งผลเชิงบวกต่อการยอมรับการใช้แอปพลิเคชันกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ การรับรู้ถึงประโยชน์ การรับรู้ถึงความง่ายในการใช้ และทัศนคติที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนของปัจจัยด้านคุณภาพมาตรฐานซอฟต์แวร์ (ISO/IEC 9126) ส่งผลอิทธิพลต่อความตั้งใจในการใช้แอปพลิเคชันกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ มีค่าอำนาจการพยากรณ์ ได้ร้อยละ 14.6 (R2 = 0.146) และปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้งานแอปพลิเคชันกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลอิทธิพลต่อความตั้งใจในการใช้แอปพลิเคชันกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ มีค่าอำนาจการพยากรณ์ ได้ร้อยละ 13.5 (R2 = 0.135) เมื่อพยากรณ์โดยความตั้งใจในการใช้งาน ที่วัดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p- value < 0.001)

Abstract

        Currently, the styles of electronic payment are increasing in popularity due to the advancement of technology and financial innovation. This brings to the question whether the innovation of electronic payment applications is effective and acceptable. This research is intended to study: 1) to study the relationship of demographic characteristics and usage behavior. 2) to study the difference of demographic characteristics and the quality assessment according to the ISO/IEC 9126 quality standard. 3) to study the differences of demographic characteristics and the adoption of technology applications, and 4) to study the factors of ISO/IEC 9126 quality standard and technology adoption that influence the intention to use e-Wallet. The sample in this research were 400 undergraduate students in Hat Yai City Municipality, Songkhla Province who have experience in using electronic wallet applications. Data were collected by using online and paper-based questionnaires. The study indicated that the majority of respondents were female. The highest use of e-Wallet application of True Money Co., Ltd. is TrueMoney Wallet (TrueMove H), followed by Rabbit Line Pay. It was found that the application users have positive effects on accepting the use of the electronic wallet application perceiving its benefits, the ease of use and the attitudes that influence the usage behavior. The results of multiple regression analysis of software quality factors (ISO / IEC 9126) influence the intentions of using e-wallet applications. The predictive power was at 14.6 percent (R2 = 0.146). The factors affecting the technology acceptance of e-Wallet applications users  influence the intention of using electronic wallet applications. It has a predictive power of 13.5% (R2 = 0.135) when predicted by intention of use. The statistical significance was at the 0.05 level (p-value <0.001).

ดาวน์โหลด Full Paper