การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการแสวงหาสารสนเทศและอุปสรรคในการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการทำผลงานทางวิชาการของคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครจาก 6 คณะ ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม วิทยาลัยการฝึกหัดครู และวิทยาลัยนานาชาติพระนคร ซึ่งแบ่งออกเป็นการวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 202 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพจำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามกระบวนการแสวงหาสารสนเทศ เพื่อการทำผลงานทางวิชาการของคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเรื่องกระบวนการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการทำผลงานทางวิชาการของคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร สรุปผลการวิจัยเชิงปริมาณ และคุณภาพ ได้ดังนี้
1. กระบวนการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการทำผลงานทางวิชาการของคณาจารย์มหาวิทยาลัย ราชภัฏพระนครโดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. อุปสรรคในแสวงหาสารสนเทศเพื่อการทำผลงานทางวิชาการของคณาจารย์มหาวิทยาลัย ราชภัฏพระนครโดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. กระบวนการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการทำผลงานทางวิชาการของคณาจารย์มหาวิทยาลัย ราชภัฏพระนครเริ่มต้นการแสวงหาสารสนเทศบนเว็บ อินเทอร์เน็ต และเว็บไซต์ การสำรวจเลือกดู ลงมือค้นหาเอกสารอื่นๆ สาระสังเขป ตัวเอกสารที่ได้รับคำแนะนำ การเชื่อมโยงร้อยเรียงจากรายการอ้างอิง และบรรณานุกรม การแยกแยะสารสนเทศพิจารณาจากความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มา การตรวจตราโดยติดตามข้อมูลข่าวสารจากสื่อสังคมออนไลน์ การรวบรวมจัดเก็บในโฟลเดอร์หลังจากการสืบค้นแล้วการดึงสารสนเทศออกมาโดยการใช้เอกสาร หนังสือ วารสาร การอ้างอิงแหล่งที่มา การตรวจสอบ แหล่งที่มาและการอ้างอิงของข้อมูล และการจบได้รับสารสนเทศตามโครงเรื่องที่กำหนด
4. อุปสรรคในแสวงหาสารสนเทศเพื่อการทำผลงานทางวิชาการของคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มี 3 ด้าน ลักษณะเฉพาะของบุคคล เช่น ไม่ทราบวิธีการในการแสวงหาสารสนเทศ เป็นต้น อุปสรรคทางด้านเศรษฐกิจ เช่น มีข้อจำกัดในเรื่องระยะเวลาในการเข้าถึงสารสนเทศ เป็นต้น และด้านอุปสรรคทางสังคมหรืออุปสรรคระหว่างบุคคล เช่น มีข้อจำกัดในเรื่องระยะเวลาในการเข้าถึงสารสนเทศ เป็นต้น
This purpose of this research was to study the information seeking process and barriers to information seeking for doing academic works of faculty members in Phranakhon Rajabhat University. The data were collected from questionnaires distributed to 202 faculty members, semi-structured interview distributed to 12 faculty members, from six faculties – Faculty of Science and Technology, Faculty of Humanities and Social Science, Faculty of Management Science, Faculty of Industrial Technology, College of Teacher Education and Phranakhon International College. Statistics used in data analysis are frequency, percentage, mean and standard deviation.
The results of the research were summarized below:
1. Overall, the participants’ the information seeking process for doing academic works was at the high.
2. Overall, the participants’ barriers to information seeking Process for doing academic works was at the high.
3. The Information Seeking Process for Doing Academic Works of Faculty Members in Phranakhon Rajabhat University. The first step is seeking information on web internet and website. Browsing information from searching other document, abstract, recommended document. Chaining information from reference lists and bibliography. Differentiating information to creditability of sources. Monitoring information by social network. Gathering by storage file after searched. Extracting by using documents, books, journal, and source in the reference. Next step is verifying by checking source in the reference and references. And last step is ending to get information based on proposal/concept paper.
4. Barriers to information seeking Process for Doing Academic Works of Faculty Members in Phranakhon Rajabhat University 3 items are Personal Characteristic for example have no idea for how to searching. Economic barrier for example have a limit for access to information. Social/Interpersonal barrier for example have a limit to time for access to information.