การพัฒนาตัวแบบการยอมรับนวัตกรรม Cloud Application : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในจังหวัดปทุมธานี

A Development of Cloud Application Adoption Models : a Case Study of Private University in Pathum Thani Province

บทคัดย่อ

            การศึกษาค้นคว้าวิจัยอิสระนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 2 จุดประสงค์ ได้แก่ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับ Cloud Application ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในจังหวัดปทุมธานี และ พัฒนาตัวแบบการยอมรับนวัตกรรมคลาวด์แอปพลิเคชันที่เหมาะสมสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในจังหวัดปทุมธานี โดยใช้ทฤษฎีที่ ทฤษฎีตัวแบบการยอมรับเทคโนโลยี ฉบับที่ 3 (Technology Acceptance Model) หรือ TAM3 เป็นฐานงานวิจัยใช้แบบสอบถามเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา การเก็บรวบรวมข้อมูลทำการคัดเลือกจาก 2 มหาวิทยาลัย โดยกลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยรังสิต และมหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1  2  3 และปีที่ 4 ขึ้นไป ใช้แบบสอบถามจำนวน 500 ฉบับและได้รับการตอบกลับมาจำนวน 400 ฉบับ สถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ การกระจายของข้อมูล ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ t สถิติทดสอบ F (One-Way ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีการยอมรับมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ ปัจจัยความสามารถในการใช้ Cloud Application ด้วยตนเอง (Cloud Application ใช้งานได้โดยไม่ต้องมีคู่มือหรือคนสอน   Cloud Application สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง  ใช้งาน Cloud Application โดยการสาธิตเพียงครั้งเดียว   การใช้งาน Cloud Application ใช้งานร่วมกับบราวเซอร์ที่เคยใช้ได้) มีอิทธิพลต่อ Cloud Application เป็นแอปพลิเคชันที่ง่ายต่อการใช้งาน (R2=0.484) รองลงมาคือ ปัจจัยการตระหนักถึงประโยชน์ของ Cloud Application (การใช้ Cloud Application จะเพิ่มและปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้งาน   การใช้ Cloud Application จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในงานให้เพิ่มขึ้น   Cloud Application เป็นแอปพลิเคชันที่เป็นประโยชน์คุ้มค่าต่อการสมัครใช้บริการ) มีอิทธิพลต่อการใช้บริการ Cloud Application ในทุกๆ เดือนต่อไป (R2=0.471) และปัจจัยความสามารถในการใช้ Cloud Application ด้วยตนเอง (Cloud Application ใช้งานได้โดยไม่ต้องมีคู่มือหรือคนสอน   Cloud Application สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง   ใช้งาน Cloud Application โดยการสาธิตเพียงครั้งเดียว  การใช้งาน Cloud Application ใช้งานร่วมกับบราวเซอร์ที่เคยใช้ได้) มีอิทธิพลต่อการใช้งาน Cloud Application ได้ง่าย โดยไม่ต้องมีการมีการติดตั้งโปรแกรมใดๆ (R2=0.470)                

Abstract

          This research aims to study the influence factors of student’s cloud application acceptance model of private universities in Pathum Thani. This research is based on Technology Acceptance Model 3 (TAM3) and using quantitative research questionnaires as a research tool to collect statistical data. Total bachelor's degree students from year 1 - 4 in the 2017 second semester at Rangsit University and Bangkok University at Ransit Campus is 37,246 students. 500 questionnaires can be used for this research and response 400 questionaires. Data analysis methods for this research are percentage, dispersion, medium, standard deviation, t-test, f-test (One-Way ANOVA) and Multiple Regression Analysis
          Research result indicates the 3 major influence factors of Cloud Application acceptance. First, an ability to use Cloud Application by themselves (Using Cloud Application without required any instructions or instructors, learning how to use Cloud Application by themselves, learning by a demonstration and using Cloud Application with familiar web browsers) influences on a simple Cloud Application (R2=0.484). Second, an awareness of Cloud Application benefit (Cloud Application helps to increase and improve efficiency, Cloud Application can reduce cost and increase effectiveness, Cloud Application is the useful and valuable application) influences on monthly Cloud Application (R2=0.471). Finally, an ability to use Cloud Application by themselves (Using Cloud Application without required any instructions or instructors, learning how to use Cloud Application by themselves, learning by a demonstration and using Cloud Application with familiar web browsers) influence on Cloud Application usage without any required application installations (R2=0.470). 

ดาวน์โหลด Full Paper