การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดหนังสือขึ้นชั้นด้วยระบบสัญลักษณ์ ของสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Staff Development on Book Management Symbolic System of the Library of Mahasarakham University

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลากรสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคามให้มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดหนังสือขึ้นชั้นด้วยระบบสัญลักษณ์ และสามารถจัดหนังสือขึ้นชั้นด้วยระบบสัญลักษณ์ได้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย และผู้ให้ข้อมูล จำนวน 118 คน การวิจัยนี้พัฒนาบุคลากรโดยใช้กลยุทธ์ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน จำนวน 6 ชนิด ประกอบด้วย แบบสังเกต แบบบันทึกการตรวจสอบการจัดหนังสือ  ขึ้นชั้น แบบประเมินผลการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ แบบสัมภาษณ์ผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอเชิงพรรณา ผลการวิจัยพบว่า ผลการพัฒนาบุคลากรโดยใช้กลยุทธ์การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน ทำให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในการจัดหนังสือขึ้นชั้นด้วยระบบสัญลักษณ์เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 18.53  บุคลากรสามารถจัดหนังสือขึ้นชั้นโดยใช้ระบบช่วยในการจัดหนังสือขึ้นชั้น  อย่างมีความสุขได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่ค้นหาหนังสือที่มีการจัดหนังสือขึ้นชั้นระบบช่วยในการจัดหนังสือขึ้นชั้นอย่างมีความสุข พบว่า ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.13) แสดงว่ากลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนาบุคลากรทั้ง 3 กลยุทธ์ ช่วยให้บุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดหนังสือขึ้นชั้นด้วยระบบช่วยในการจัดหนังสือขึ้นชั้นอย่างมีความสุข และระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถนำมาช่วยในการจัดหนังสือขึ้นชั้นได้เร็วยิ่งขึ้น ส่งผลให้ช่วยลดปัญหาในการจัดหนังสือขึ้นชั้นไม่ทันต่อความต้องการของผู้ใช้บริการได้

Abstract

        The research purposed to develop the staff in the library of Mahasarakham University to understand how to manage the book and arrange them on the shelves through the symbolic system. The participants were 118 staff by using the action training, workshop, and internal supervision. The 6 kinds of instruments were examined by 3 experts which were the observation list, the record of book management, the assessment of workshop, the examination, the interview, and the questionnaire. The statistics used were the average, mean, and standard deviation. The data were subsequently presented in descriptive form. The results had been shown that the development of the staff through workshop, action training, and internal supervision was higher at 18.53. The staff could manage the books on the shelves by using the system rapidly. The result of user’s satisfaction was high (x̄ = 4.13) which mean that the 3 techniques could support the staff to understand how to manage the books through the symbolic sys happily. Moreover, that developed system could manage the books rapidly which could avoid wasting time of arranging. 

ดาวน์โหลด Full Paper