การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการใช้ระบบประเมินผลการปฏิบัติงานของคณบดี ผู้อำนวยการสถาบัน และผู้อำนวยการสำนัก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรและนิสิตที่สังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 4 วิทยาเขต โดยใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิประกอบด้วยบุคลากร 420 นิสิต 950 คน และผู้รับผิดชอบในการสรุปผลการประเมินของหน่วยงาน 37 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ชุด ดังนี้ ชุดที่ 1 สำหรับบุคลากร ชุดที่ 2 สำหรับนิสิต และชุดที่ 3 สำหรับ
ผู้รับผิดชอบในการสรุปผลการประเมินของหน่วยงาน โดยศึกษาสภาพและปัญหาการใช้ระบบ 3 ด้าน คือด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลลัพธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า สภาพการใช้ระบบประเมิน บุคลากรที่มีประสบการณ์น้อยกว่า 1 ปี ส่วนใหญ่ไม่เคยใช้ระบบประเมิน สำหรับนิสิตชั้นปีที่ 1 และปีที่ 2 ส่วนใหญ่ไม่เคยใช้ระบบประเมิน และส่วนใหญ่ของบุคลากรมีการประเมินโดยใช้ระบบออนไลน์ทุกปี ในขณะที่นิสิตส่วนใหญ่มีการประเมินโดยเป็นเอกสารบางปี ด้านปัญหาการใช้ระบบแบ่งออกเป็น 1) ด้านปัจจัยนำเข้ามีปัญหาเรื่องคู่มือการใช้งานระบบประเมินเนื่องจาก ภาษาเข้าใจยากภาษาไม่ชัดเจนและสิ่งอำนวยความสะดวกไม่เพียงพอ ภาพรวมมีปัญหาด้านปัจจัยนำเข้าอยู่ในระดับปานกลาง 2) ด้านกระบวนการมีปัญหาเรื่องการประชาสัมพันธ์และการแจ้งข่าวสาร ขั้นตอนหรือกระบวนการเข้าประเมิน รูปแบบของแบบประเมิน และการให้คำปรึกษาของเจ้าหน้าที่
ประสานงาน โดยมีประเด็นปัญหาคือ การประชาสัมพันธ์ไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ภาษาที่ใช้เป็นทางการมากเกินไป เข้าใจยากและคำถามมีจำนวนมาก การประเมินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มีความยุ่งยาก การให้คำปรึกษาของเจ้าหน้าที่ประสานงานทั้งในส่วนกลางและคณะ/สถาบัน/สำนักช่องทางการติดต่อประสานงานมีน้อย ข้อมูลข่าวสารไม่เป็นปัจจุบันและไม่ถูกต้อง ภาพรวมปัญหาด้านกระบวนการอยู่ในระดับปานกลาง 3) ด้านผลลัพธ์มีปัญหาคือไม่มีการใช้ประโยชน์จากผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนา บางประเด็นจากผลการประเมินที่บ่งบอกถึงปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข ทั้งนี้ภาพรวมของปัญหาด้านผลลัพธ์อยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาที่สำคัญของการใช้ระบบประเมินผลการปฏิบัติงาน คือ จำนวนข้อมูลไม่เพียงพออันเนื่องมาจากจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามมีจำนวนน้อย และระบบประเมินผล
การปฏิบัติงานไม่ช่วยลดเวลาและงบประมาณในการทำงาน
The objective of this research was aimed to study states and problems for
development of job performance evaluation system usage of Deans, Institute
Directors and Office Directors of Kasetsart University. The samples were staffs and students of Kasetsart University in 4 campuses selected by using stratified random sampling method. There were 950 students, 420 general staffs, and 37 staffs who analysed and concluded the results of evaluation from the questionnaire survey in each units of work. This study was concentrated on the states and the problems in 3 parts that are input, process and output. Statistical analysis was performed by using percentage value.
The research found that one year experienced staffs, first year students and second year students were passive a job performance evaluation system to evaluate. The most of the staffs that used a job performance evaluation system for evaluating using an online system in every year while most of students evaluated by a paper system only in some year. The problems of a job performance evaluation system can be classified into 1) The input problems were misunderstood of the manual assessment because of unclear and difficult meaning of word used in manual and inadequate facilities. These problems were at the moderate level. 2) The process problems were inadequate announcement, few explanation for the process of a job performance evaluation and unclear consulting of coordinator, for example; announcement was not hit the target of staffs and students, the wording of the questionnaire survey was too difficult to understand, there were too many questions in the questionnaire, evaluated electronically was too difficult and the channel for counseling was a little, and information was out of date or incorrect. The level of the process problems were at the moderate level. 3) The outputs problem was no utilization of evaluation result for improvement. Some issue of evaluation result that was main problem for performance was not solved. The level of the output problem was also at the moderate level. The main problems of using of the job performance evaluation system were insufficient data due to less number of evaluators and evaluation system did not reduce time and budget to work.