การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ นโยบายและแผน 2) ความต้องการสารสนเทศของเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 3) เปรียบเทียบพฤติกรรมการแสวงหาของเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ในด้าน ระดับตำแหน่งงาน และประสบการณ์การทำงาน และ 4) เปรียบเทียบความต้องการสารสนเทศ ของเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ในด้าน ระดับตำแหน่ง และระสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่วนกลาง จำนวน
156 คน ได้แบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับคืนมาจำนวน 156 ชุด เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า
(F– test) เพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัยโดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สรุปผลการวิจัย
1. เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ซึ่งดำรงตำแหน่งปฏิบัติการมากกว่าตำแหน่งอื่น โดยส่วนใหญ่มีประสบการณ์ทำงานอยู่ในช่วง 1-5 ปีและสังกัดสำนักงานรัฐมนตรีมีมากที่สุด
2. เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผนมีพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศในการปฏิบัติงานค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง 3 ด้าน ซึ่งด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านแหล่งสารสนเทศสื่อมวลชน ทำนองเดียวกันอยู่ในระดับมากมีเพียง 1 ด้าน คือด้านแหล่งสารสนเทศบุคคล นอกเหนือจากนี้แล้วเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผนมีความต้องการสารสนเทศ ในการปฏิบัติงานค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน ซึ่งด้านที่มีระดับค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านวัตถุประสงค์ ความต้องการสารสนเทศในทำนองเดียวกัน พบว่า ความต้องการสารสนเทศในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน เช่นกัน แต่ด้านประเภทสารสนเทศมีค่าเฉลี่ยสูงสุด
การทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่าเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผนที่มีระดับตำแหน่งงานและประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีพฤติกรรมการแสวงหาและความต้องการสารสนเทศไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งไม่สนับสนุนสมมติฐานการวิจัย
In this thesis, the researcher examines (1) the information-seeking behaviors of selected planning and policy analysts; (2) the information needs of the analysts under study; (3) compares the information-seeking behaviors of these analysts in the aspects of level of position and work experience; and (4) compares the information needs of the analysts in the aspects of level of position and work experience.
The sample population consisted of 156 planning and policy analysts at The Office of the Permanent Secretary of the Ministry of Natural Resources and Environment.
The researcher distributed 156 copies of a questionnaire designed to collect germane data from the members of the sample population. All 156 copies were returned to the researcher.
Using techniques of descriptive statistics, the researcher analyzed the data collected in terms of percentage, mean, and standard deviation. In testing hypotheses, the researcher employed the F-test technique concomitant with statistical significance being set at the level of
.05.
Findings are as follows:
1. Females constituted the highest proportion of the planning and policy analysts. Regarding positions held by the analysts, the practitioner level was evinced at the highest level. Their work experience had been from one to five years. The highest proportion worked under the aegis of the Office of the Minister.
2. In investigating the information-seeking behaviors of the analysts in the course of work performance, the researcher found that the total mean for these behaviors was evinced at a moderate level. When considering the mean for each aspect, it was found to be exhibited at a moderate level in three aspects. Mass media information resources showed the highest mean. Individual information resources displayed a mean at a high level.
In addition, the total mean for needs for information in work performance was displayed at a high level. In considering aspects, the researcher determined that the mean was found to be at a high level in two aspects. The aspect revealing the highest mean was objectives. Needs for information in work performance was displayed at a moderate level in two aspects. The aspect of type of information exhibited the highest mean.
In hypothesis testing, the researcher found that analysts who differed in position level and work experience did not exhibit parallel differences at the statistically significant level of .05 in information-seeking behaviors and needs for information. This finding did not lend support to the research hypotheses postulated for this inquiry. Information Seeking Behaviors, Information Needs