การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศของครูบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาครั้งนี้คือ ครูบรรณารักษ์โรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 92 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ พบว่า ห้องสมุดโรงเรียนส่วนใหญ่มีครูบรรณารักษ์ 1 คน มีหน้าที่รับผิดชอบในการสอน 11-15 คาบเรียน มีนโยบายการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ และมีการเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร มีคู่มือการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ ได้รับงบประมาณ 100,000 – 200,000 บาท และมีเงินอุดหนุนจากสมาคมผู้ปกครองและครู การประเมินทรัพยากรสารสนเทศจากระดับความเหมาะสมของเนื้อหา โดยการสอบถามครูและนักเรียนโดยตรงเพื่อทราบความต้องการทรัพยากรสารสนเทศ ส่วนการ คัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศได้รับคำแนะนำจากครูและนักเรียน สำหรับเกณฑ์ ที่ใช้ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศพิจารณาจากความต้องการของครูและนักเรียน โดยครูบรรณารักษ์จะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ห้องสมุดส่วนใหญ่จัดซื้อ นวนิยาย หนังสือเด็กและเยาวชน พจนานุกรม สารานุกรม วารสารและนิตยสาร หนังสือพิมพ์ วีดิทัศน์ประกอบการเรียน ลูกโลกและแผนที่เพื่อใช้เป็นสื่อการสอน โดยการติดต่อสั่งซื้อจากสำนักพิมพ์หรือแหล่งจำหน่ายโดยตรง นอกจากนี้ห้องสมุดส่วนใหญ่ได้รับอภินันทนาการจากสำนักพิมพ์ หน่วยงานและห้องสมุดจะทำจดหมายตอบขอบคุณเมื่อได้รับทรัพยากรสารสนเทศ
2. ครูบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร มีปัญหา ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ ในภาพรวม และรายด้าน ด้านความร่วมมือของผู้บริหารและครูมีปัญหาอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านปัญหาการเงิน ด้านปัญหาจากทรัพยากรสารสนเทศ และด้านปัญหาจากครูบรรณารักษ์อยู่ในระดับปานกลาง
The purposes of this research were conditions and problems in respect to the provision of information resources by selected librarian teachers at secondary school libraries in the Bangkok Metropolitan area. The research also compares. The research population consisted of 119 librarian teachers employed in secondary schools in the Bangkok Metropolitan area. The research instrument was a questionnaire
The findings revealed as follows:
1. In respect to the conditions of information resource provision in school libraries, the research found that there is a single librarian teacher at each school. The majority of the librarian teachers under study are responsible for teaching from 11 to 15 periods. Information resource provision policies are given in writing. A manual for information resource provision is provided. The budget received is from approximately 100,000 to 200,000 baht. Support monies are provided by Parents and Teachers Associations. Information resources are evaluated on the basis of the degree of content appropriateness. In order for information resource needs of students and teachers to be known, direct inquiries are made. Students and teachers give advice regarding selection of information resources. The needs of students and teachers determine the criteria used in providing information resources. Librarian teachers participated in decision making. The majority of libraries purchase novels, children and juvenile books, dictionaries, encyclopedias, journals, magazines, newspapers, videos for study purposes, globes displaying world maps, and maps used as instructional materials. They directly contact publishers or distributors. In addition, the majority of these libraries receive free copies from publishers and agencies. The libraries send letters thanking donors for providing information resources.
2. Concerning problems confronting these librarian teachers in the provision of information, the researcher found that overall problems were encountered at a moderate level. Furthermore, on the one hand, insofar as concerns the aspect of administrator and teacher cooperation, problems were confronted at a high level. On the other hand, in regard to the aspects of financial problems, information resources, and the librarian teachers themselves problems were also faced at a moderate level.
ดาวน์โหลด Full Paper