การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ก) ค้นหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้โมบายแอปพลิเคชันประเภทแอปพลิเคชันสนับสนุนกระบวนการทางธุรกิจของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร และ ข) พัฒนาตัวแบบการตัดสินใจใช้โมบายแอปพลิเคชันทางธุรกิจ การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว (One way ANOVA หรือ F-test) การทดสอบทีระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน (Independent Sample T-Test) และการวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม (Discriminant Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้โมบายแอปพลิชันที่สนับสนุนกระบวนการทางธุรกิจ คือ ปัจจัยด้านหน้าที่การทำงาน (Functionality) ปัจจัยด้านความน่าเชื่อถือ (Reliability) ปัจจัยด้านความสามารถในการใช้งาน (Usability) ปัจจัยด้านการบำรุงรักษา (Maintainability) และ ปัจจัยด้านความสามารถในการใช้กับระบบอื่น (Portability) ได้สมการอิทธิพลรวมทั้งสิ้น 12 สมการ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาตัวแบบการตัดสินใจใช้โมบายแอปพลิเคชัน และกำหนด
แนวทางการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชัน ผลการวิจัยในครั้งนี้ชี้ว่าควรพัฒนาระบบช่วยสอนการใช้งานโมบายแอปพลิเคชันในครั้งแรกแก่ผู้ใช้ โดยเฉพาะผู้ใช้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปมีความต้องการคู่มือการใช้โมบายแอปพลิเคชันมากที่สุด ผลการวิจัยยังชี้ให้เห็นว่าการใช้เทคนิคพิเศษ จะมีส่วนช่วยดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้ อีกทั้งโมบายแอปพลิเคชันที่พัฒนา ขึ้นมานั้นจะต้องให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องแม่นยำ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภค
This study aimed to: a) discover factors influencing decision making of customers in Bangkok on choosing of the supporting business process mobile applications, and b) develop a decision model for choosing the applications. This study is a quantitative research. Questionnaires were used for gathering data from the customers. Statistics used for analyzing data from returning questionnaires were percentage, mean, standard deviation, chi-square, one way ANOVA (F-Test), independent sample t-test, and discrimination analysis. The study resulted that functionality, reliability, usability, maintainability and portability factors have affected the decision making to use business mobile applications. The discriminant technique produced 12 influence equations which lead to develop the decision model. Based on the results, once the application developers should prepare user guideline module for the customers, especially a group of 35 years old customers. The study pointed out that using special techniques in the applications would attract the customers; the applications must produce accurate outputs and have been developed continuously.
ดาวน์โหลด Full Paper