การศึกษาพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณโดยใช้หลักการความพยายามน้อยที่สุด

A Study of Information-Seeking Behaviors of Graduate Students at Thaksin University Using the Principle of Least Effort (Zipf’s Law)

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ และ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างความสะดวก ความง่าย สารสนเทศมีให้ใช้ และประสบการณ์/ความคุ้นเคย กับความถี่การใช้แหล่งสารสนเทศของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา และพัทลุงที่ลงทะเบียนเรียนภาคศึกษาที่ 2 / 2557 จำนวน 268 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ความถี่  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
        ผลการวิจัยด้านพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ พบว่า ความถี่ในการใช้แหล่งสารสนเทศโดยรวมของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยทักษิณอยู่ในช่วง 1-3 ครั้ง/สัปดาห์มากที่สุด แหล่งสารสนเทศที่เลือกใช้มากที่สุด คือ อินเทอร์เน็ตหรือเว็บไซต์  ความสะดวก ความง่าย สารสนเทศมีให้ใช้ และประสบการณ์/ความคุ้นเคยในการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศจากทุกแหล่งโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง  ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างความสะดวก ความง่าย สารสนเทศมีให้ใช้ และประสบการณ์/ความคุ้นเคย กับความถี่ในการใช้แหล่งสารสนเทศ พบว่า ความสะดวก  ความง่าย  สารสนเทศมีให้ใช้ และประสบการณ์/ความคุ้นเคย มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกกับความถี่ในการเลือกใช้แหล่งสารสนเทศทุกแหล่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้

Abstract

        The objectives of this study were to investigate (1) the information-seeking behaviors of graduate students at Thaksin University, and (2) the relationships among convenience, ease of use, availability of information sources, experience in or familiarity with information access, and the frequency of use of each information source. The sample size in this study was 268 graduate students of Songkhla and Phatthalung campuses enrolling in the second semester of the academic year 2014. The research instrument used in this study was a questionnaire. The statistics used were percentage, frequency, mean, standard deviation and Pearson’s product moment correlation coefficient.
        The research results regarding students’ information-seeking behaviors showed that the highest level of use frequency of information sources was one to three times a week. Of information resources used, students preferred the Internet or websites at the highest level. The convenience, ease of use, availability of information sources, experience in or familiarity with information access to every source was at a moderate level.  In hypothesis testing, positive relationships were found between convenience, ease of use, availability of information sources, as well as experience in or familiarity with and frequency in the selection of information sources at the statistically significant level of 0.05. It could be concluded that research showed supported empirical evidence and was thus in consonance with the set hypotheses posited for this inquiry.

ดาวน์โหลด Full Paper