การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มรูปแบบห้องสมุดโรงเรียนในการเป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน 8 ด้าน ดังนี้ 1. การบริหาร ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้บริหารจัดการให้มีทุกภาคส่วน ได้แก่ สถานศึกษาองค์กรภาครัฐที่ทำหน้าที่บริหารการศึกษา องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น องค์กรอิสระในท้องถิ่นที่ให้การสนับสนุนห้องสมุดเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการอำนวยการบริหาร 2. งบประมาณ คณะกรรมการอำนวยการบริหารให้การสนับสนุนงบประมาณ 3. บุคลากร นำหลักการจัดการความรู้มาสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้การวิจัยและการพัฒนาทักษะความรู้ในการปฏิบัติงาน การบริหารและคุณภาพการดำเนินงานของบุคลากร 4. ทรัพยากร จัดหาทรัพยากรสารสนเทศให้ตรงกับหลักสูตรสถานศึกษาและความต้องการของผู้ใช้บริการ รวบรวม และจัดเก็บสารสนเทศที่มีอยู่ในชุมชน เพื่อสร้างอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนในรูปแบบของฐานข้อมูล เชื่อมโยงสารสนเทศที่เป็นประโยชน์กับท้องถิ่นด้วยเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ชุมชนเข้าถึงอย่างสะดวกรวดเร็ว 5. อาคารสถานที่และครุภัณฑ์ อาคารห้องสมุดควรตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นศูนย์กลางของโรงเรียน การคมนาคมสะดวกไม่อยู่ในที่ลับ มีบรรยากาศที่เหมาะสมทุกด้าน เพื่อดึงดูดใจอยากให้เข้าใช้บริการ 6. บริการและกิจกรรม จัดบริการเชิงรุกทุกรูปแบบเข้าไปในชุมชน เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงระบบเครือข่ายข้อมูลท้องถิ่นกับเครือข่ายโลก จัดกิจกรรมเพื่อสร้างอาชีพ จัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายในชุมชนเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ จัดบริการและกิจกรรมให้กับชุมชนในวันเสาร์-อาทิตย์ 7. เครือข่ายและความร่วมมือระหว่างห้องสมุด มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดกิจกรรมและเผยแพร่แลกเปลี่ยนเรียนรู้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนร่วมกัน 8. การประเมินคุณภาพห้องสมุด มีการประเมิน ทั้งกระบวนการในแต่ละด้านโดยกำหนดตัวชี้วัดอย่างชัดเจนทั้งการประเมินผลการดำเนินงาน ประเมินผลเชิงคุณภาพ
ประเมินผลเชิงปริมาณและประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร
This research aimed to study trends of School library Model in Promoting Community Learningg Resources in 8 following areas: 1. anagement: School administrators should manage all public sectors of educational organizations included Educational Administrators, local organizations, and independent organizations to take part in the Board Executive Committee. 2. Budgeting: Commission Executive Committee must supports the budget. 3. Personnel: The knowledge management, research and development, and quality management are the knowledge the library staff is needed. 4. Resources: the library should serve the teaching -learning process and the needs of users. Whereas, the information provided in libraries should support the community in order to create jobs and improve the quality of life. Moreover, library should have the useful linked databases via the Internet in order to access quickly and easily. 5. Premises and durable: Library building should be located in the center of the school. Convenient transportation is also needed. The good and peaceful atmosphere is an attractive factor. 6.Services and activities: Proactive services should be provided. Library should act as the gateway to any local and global knowledge networks. Career promoting activities should be done often in the libraries in order to create a learning community and to promote new knowledge to the community members. Those services and events should be held on weekend days. 7. Library networking and cooperation:Library should organize the library collaborations in order to share and disseminate the useful information resources to its community. 8. Library quality evaluation: There should be the library quality indicators which are used in the quality assessment process. The indicators must be clearly defined either qualitative or quantitative ways. Lastly, the evaluation result must be shown publicly.
ดาวน์โหลด Full Paper