การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มสำหรับห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์มหาวิทยาลัยรังสิต โดยศึกษาความพึงพอใจ และเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต จาก 3 กลุ่มวิชา ได้แก่ กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคม-ศาสตร์ รวมทั้งสิ้น 226 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามความพึงพอใจ ของผู้ใช้ระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)
การพัฒนาระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มสำหรับห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยรังสิต พัฒนาขึ้นโดยใช้โปรแกรมการจัดการฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล (MySQL) และภาษาพีเอชพี (PHP) ซึ่งฐานข้อมูลที่พัฒนาขึ้นมีความสามารถในด้านการบันทึกข้อมูล การแก้ไขข้อมูล การลบข้อมูล การเพิ่มข้อมูล และสืบค้นข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจในการใช้ระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มสำหรับห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยรังสิต มีความพึงพอใจด้านการออกแบบหน้าจอ ด้านการสืบค้นฐานข้อมูล ด้านการแสดงผล และด้านการติดต่อกับผู้ใช้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก นักศึกษากลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และนักศึกษากลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ มีความพึงพอใจในระดับมาก และนักศึกษากลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง
ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจ ของผู้ใช้ระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มสำหรับห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์มหาวิทยาลัยรังสิต ระหว่างนักศึกษาทั้ง 3 กลุ่มวิชา โดยรวมพบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบรายด้าน พบว่า ด้านการออกแบบหน้าจอ ด้านการสืบค้นฐานข้อมูลด้านการแสดงผล และด้านการติดต่อกับผู้ใช้ นักศึกษากลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The purpose of this research was to develop full-text thesis database for electronic library at Rangsit University and to compare the satisfaction of the database users. The sample of the study consisted of 226 students of Rangsit University, which included students from three groups; health sciences, science and technology, and humanities and social sciences. The data collection instrument was a questionnaire. The numerical rating scale was arranged into five levels and the statistics used for analysis were arithmetic mean, standard deviation, percentage, and F-test.
The development of full-text theses database for electronic library at Rangsit University was started by using Database Software Program MySQL and PHP Language. The developed database was able to record, edit, delete, add, and search.
The research result revealed that the sampling students were satisfied in using the developed database. The satisfaction was on the page design, display format, and user interface. In average, the scores showed at a high level of satisfaction. The students in humanities and social sciences group, and health sciences group were highly satisfied. The students in science and technology were moderately satisfied.
The comparison of satisfaction in using the developed database found out that the sampling students from three groups had different levels of satisfaction at the statistical significance level of .05. The comparison of satisfaction appeared in the page design, display format, and user interface found out the students in health sciences group, science and technology group, and humanities and social sciences group had different levels of satisfaction at the statistical significance level of .05.