การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบความสามารถด้านการรู้สารสนเทศของนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา โดยจำแนกตามคณะ ตลอดจนเพื่อเสนอรูปแบบเค้าโครงเนื้อหาบทเรียนช่วยสอน ทักษะการรู้สารสนเทศบนเว็บไซต์ที่เหมาะสมสำหรับนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต ศรีราชา กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี ระดับชั้นปีที่ 1-4 ประจำปีการศึกษา 2549 จำนวน 361 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และ F-test จากการวิจัยสรุปผลได้ดังนี้
1. นิสิตมีความสามารถด้านการรู้สารสนเทศโดยรวมทุกมาตรฐาน อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายมาตรฐานพบว่า นิสิตมีความสามารถด้านการรู้สารสนเทศอยู่ในระดับปานกลางทุกมาตรฐาน โดยมาตรฐานที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือมาตรฐานที่ 6 ความสามารถใช้สารสนเทศด้วยความเข้าใจและยอมรับประเด็น ทางด้านวัฒนธรรม จริยธรรม เศรษฐกิจ กฎหมาย และสังคมที่แวดล้อมด้วยการใช้สารสนเทศ รองลงมา ได้แก่ มาตรฐานที่1 ความสามารถในการตระหนักถึงความต้องการสารสนเทศ มาตรฐานที่ 3 ความสามารถในการประเมินสารสนเทศมาตรฐานที่ 5 ความสามารถประยุกต์สารสนเทศใหม่และสารสนเทศ ที่มีอยู่เดิมเพื่อสร้างแนวคิดใหม่หรือสร้าง ความเข้าใจใหม่ได้ มาตรฐานที่ 4 ความสามารถจัดการสารสนเทศที่รวบรวมหรือผลิตขึ้นมาได้ และมาตรฐานที่ 2 ความสามารถในการค้นหาสารสนเทศ ตามลำดับ
2. ผลการเปรียบเทียบนิสิตทั้ง 3 คณะ โดยรวมพบว่า นิสิตที่ศึกษาในคณะต่างกัน มีความสามารถด้านการรู้สารสนเทศแตกต่างกันอย่างไม่มีนัย เมื่อเปรียบเทียบเป็นรายมาตรฐานพบว่า นิสิตที่ศึกษาในคณะต่างกันมีความสามารถด้านการรู้สารสนเทศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในมาตรฐานที่ 2 ความสามารถในการค้นหาสารสนเทศ ส่วนมาตรฐานอื่นๆ ไม่พบความแตกต่างกัน เมื่อทดสอบเป็นรายคู่พบว่า นิสิตที่ศึกษาคณะทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการค้นหาสารสนเทศสูงกว่านิสิตคณะวิทยาการจัดการ ส่วนคู่อื่นไม่พบความแตกต่างกัน
3. จากการศึกษาและเปรียบเทียบ สามารถนำเสนอรูปแบบเค้าโครงเนื้อหาบทเรียนช่วยสอนทักษะการรู้สารสนเทศบนเว็บไซต์ที่เหมาะสมสำหรับนิสิตปริญญาตรี จำแนกเป็น 7 Module ดังนี้ Module 1 ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ Module 2 การตระหนักถึงความต้องการสารสนเทศ Module 3 การเข้าถึงสารสนเทศModule 4 การประเมินสารสนเทศ Module 5 การจัดการสารสนเทศที่รวบรวบหรือผลิตขึ้นมาได้ Module 6 การประยุกต์ใช้สารสนเทศ Module 7 การใช้สารสนเทศด้วยความเข้าใจ
The objectives of this research were to study and compare the information literacy of undergraduate students at Kasetsart University (KU) on Si Racha Campus by categorizing into faculties, and to present the format of the lesson content for teaching information skill on a suitable website for undergraduate students of KU on Si Racha Campus. The sample consisted of 361 undergraduate students from first year to fourth year in the academic year 2006. The research instrument was a questionnaire, and data was analyzed by using statistics of percentage, mean, standard deviation and F-test Statistic. The results of this research were as follows:
1. Undergraduate students of KU on Si Racha Campus had the information literacy as a whole at a moderate level. When considering each particular standard, it was found that the students' information literacy was at a moderate level in all standards, ranking from the highest
to lowest means were: the 6th standard (The understanding and accepting the issues related to culture, ethic, economy, legislation, and the environment surrounded by information), the 1st standard (Realization of the need for information), the 3rd standard (Ability of information evaluation),the 5th standard (Ability of applying new and former information so as to create the new concept or create the new understanding), the 4th standard (Ability of managing the collected or produced information, and the 2nd standard (Ability of information searching), respectively.
2. The comparison of the information literacy in all standards among undergraduate students from 3 different Faculties showed that there was no significant difference (p<0.5) among students in all Faculties. On comparing each standard, it was found that there was a significant difference (p< 0.5) in the 2nd standard (Ability of information searching) between the students from Faculty of Resource and Environment and those from Faculty of Management Sciences. While the other standards and Faculties, no significant differences were found (p<0.5).
3. From the study and the comparison, the format of lesson content for teaching information skill on the website for undergraduate students was presented and categorized into 7 modules: the 1st Module (Significant of Information Literacy), the 2nd Module (Realization of Information Need), the 3rd Module (Information Access), the 4th Module (Information Evaluation), the 5th Module (Information Management), the 6th Module (Apply of Information), and the 7th Module (Understanding of using Information).