การรับรู้ของบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาต่อการจัดการความรู้เพื่อการปฏิบัติงาน

Perception of Knowledge Management for Work of Librarians in the Higher Education Institution

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการรับรู้ของบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดม-ศึกษาต่อการจัดการความรู้ (2) ศึกษาพฤติกรรมการรับรู้ของบรรณารักษ์ในกระบวนการการจัดการความรู้(3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดการความรู้ของบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ บรรณารักษ์ที่เข้าร่วมกิจกรรมการจัดการความรู้หรือรับผิดชอบเรื่องการจัดการความรู้ของห้องสมุดสถาบันอุดม-ศึกษาของรัฐและเอกชน จำนวน 195 คน จากห้อง-สมุดสถาบันอุดมศึกษา 24 แห่ง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบเพื่อวัดความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test) ผลการวิจัยพบว่า
        1. ระดับการรับรู้ของบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาต่อการจัดการความรู้ในด้านนโยบาย ด้านประโยชน์ และความสำคัญของการจัดการความรู้ และด้านกระบวนการของการจัดการความรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
        2. พฤติกรรมการรับรู้ของบรรณารักษ์ในกระบวนการจัดการความรู้พบว่า บรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษามีพฤติกรรมการรับรู้ในด้านการค้นหาความรู้ ด้านการสร้างและแสวงหาความรู้ด้านการจัดการความรู้ให้เป็นระบบ ด้านการประมวลและกลั่นกรองความรู้ ด้านการเข้าถึงความรู้ ด้านการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ และด้านการเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
        3. ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการความรู้ของบรรณารักษ์ คือ ด้านกระบวนการพบว่าห้องสมุดไม่มีการถ่ายทอดความรู้ระหว่าง บุคลากร/หน่วยงานอย่างเป็นระบบ ด้านผู้ปฏิบัติงาน พบว่าความสามารถของบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดม-ศึกษา มีข้อจำกัดในการเรียนรู้แตกต่างกัน ด้านเทคโน-โลยี พบว่า ห้องสมุดไม่มีระบบการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุด เพื่อช่วยให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ
        4. การเปรียบเทียบการรับรู้ของบรรณา-รักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาต่อการจัดการความรู้พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงานไม่มีผลต่อระดับการรับรู้และพฤติกรรมของกระบวนการจัดการความรู้ของบรรณารักษ์ เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า บรรณารักษ์ที่มีอายุ 20-30 ปี มีพฤติกรรมในการรับรู้ ด้านการแบ่งปัน แลก-เปลี่ยนความรู้แตกต่างจากบรรณารักษ์กลุ่มที่มีอายุ31-40 ปี 41-50 ปี และ50 ปีขึ้นไปที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

Abstract

        This research aims at (1) studying the level of perception of librarians in higher education institutions toward knowledge management
(2) studying the perceptional behavior of librarians in the process of knowledge management, and (3) studying the problem and obstacle in
knowledge management of librarians in higher education institutions. The 195 librarians from the 24 private and government libraries who attend
the activities of knowledge management are selected as the sample of this study. The data were collected by using questionnaire and analyzed statistically by frequencies, percentage, standard derivation, test to measure differences in mean (t-test) and one-way analysis of variance (f-test)
        The result shows that (1) the librarians in higher education perceived the policy, benefit and importance of knowledge management, and
process of knowledge management are at high level, (2) the perceptional behavior of librarians in the terms of process of knowledge management,
knowledge identification, knowledge creation and acquisition, knowledge organization, knowledge codification and refinement, knowledge access, knowledge sharing, as well as knowledge learning are at moderate level, and (3) the problem and obstacle of librarians in knowledge management is the process, that is, the libraries cannot transmit the knowledge among the persons or institutes systematically. The ability of each librarian in higher education institutions is limited at different ways of learning. In term of technological aspect reveals that the libraries are lack of the data linkage between departments to help the operation of libraries effectively. (4) In comparison of libraries' perception toward knowledge management depicted that gender, age, educational background, and working experiences do not affect the librarians' level of perception and behavior in the process of knowledge management. Considering by each aspect, the behavior of knowledge sharing of librarians aged 20-30 years old is different from the librarians aged 31-40 years old, 41-50 years old, and over 50 years old at the significant level of 0.05.

ดาวน์โหลด Full Paper