การบริหารความเสี่ยง : การนำมาใช้ในห้องสมุดและศูนย์สนเทศ

บทคัดย่อ

        การพัฒนาและการแพร่กระจายของสารสนเทศที่มาในหลากหลายรูปแบบและหลากหลายสื่อทั้งระดับท้องถิ่นระดับชาติ และระดับนานาชาติ ได้ส่งผลให้บรรณารักษ์ต้องส่งเสริมการบริการสารสนเทศทุกวิถีทาง การศึกษาขั้นอุดมศึกษากำลังเผชิญกับอาจารย์ผู้สอนรุ่นใหม่ที่หลั่งไหลเข้ามาพร้อมกับแหล่งสารสนเทศที่แตกต่างกันออกไป บทความนี้จะกล่าวถึงคำจำกัดความของการบริหารความเสี่ยง และการจำแนกประเภทของความเสี่ยงในสภาพแวดล้อมของห้องสมุด การประยุกต์หลักการบริหารความเสี่ยงในห้องสมุดเริ่มตั้งแต่ประเด็นการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศไปจนถึงสำนักพิมพ์/ตัวแทนร้านค้าตามความแตกต่างของประเภททรัพยากรสารสนเทศ
        ประเภทของความเสี่ยง ประกอบด้วย
        • การประเมินองค์กร
        • การบริหารทรัพยากรสารสนเทศที่มีให้บริการ
        • สิทธิในการเข้าถึงของผู้ใช้บริการ
        • การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        • การโอนย้ายข้อมูล
        • ภาคีความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
        • การฝึกอบรมและการสรรหาบุคลากร
        • การอนุรักษ์
        • การใช้เทคโนโลยีของนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรห้องสมุด
        กลยุทธ์สำหรับการบริหารความเสี่ยง อธิบายได้ดังนี้
        • จัดให้มีการอภิปราย/การประชุมกลุ่มย่อย ฯลฯ เพื่อทราบความต้องการของผู้ใช้บริการทั้งอาจารย์ และนักศึกษาพบปะกับตัวแทนขององค์กรประเภทต่างๆ เช่น ห้องสมุดโรงเรียน หรือสมาคมวิชาชีพ เพื่อค้นหาแผนการเรียนการสอนใหม่ๆ เพื่อพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศให้มีความสอดคล้องกัน
        • ปรึกษาหารือกับสำนักพิมพ์/ตัวแทนร้านค้าเพื่อให้การบริหารทรัพยากรสารสนเทศครอบคลุมความต้องการความจำเป็น และการเปลี่ยนแปลงทุกรูปแบบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
        • รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศจากแหล่งภายนอก การใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน และการเข้าถึงฐานข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
        • รวมกันเป็นภาคีห้องสมุดเพื่อร่วมกันพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ การจัดการเนื้อหา การบริการและการอนุรักษ์สารสนเทศ
        
• จ้างบุคลากรที่มีทักษะตรงกับความต้องการและพัฒนาทักษะให้แก่บุคลากรที่มีอยู่แล้ว โดยจัดให้มีการฝึกอบรมภายใน
        
• กำหนดรูปแบบการอนุรักษ์ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันระหว่างห้องสมุด ทั้งเรื่องอุปกรณ์สำหรับจัดเก็บที่เหมาะสม ซอฟต์แวร์ที่พร้อมใช้งาน และการอัพเกรดฮาร์ดแวร์ เป็นต้น
        
ผู้เขียนได้สรุปว่า บุคลากรวิชาชีพห้องสมุดควรใส่ใจเตรียมมีมาตรการป้องกันความเสี่ยงไว้ล่วงหน้าและจัดบริการที่ปราศจากซึ่งความเสี่ยงให้แก่ผู้ใช้

Abstract

ดาวน์โหลด Full Paper