This descriptive research aims to investigate e-Learning readiness of 358 nursing students of Suan Dusit University. Particularly, the readiness of those students was also tested by comparing with each year of study. Self-assessment tool was applied by measuring six dimensions in totally 27 items such as technology access, online skill and relationship, motivation, online audio/video, internet discussions and importance to the success, respectively. Generalization was made by making through try-out process with other 30 nursing student who contain similar characteristic to those sample students. Result of the test yields its reliabilities at 0.809. Meanwhile, software program was applied for data analysis to produce mean, standard deviation and one-way ANOVA analysis, respectively.
Outcome of the study reveals that, degree of e-Learning readiness of nursing students is high when comparing is made to the readiness which was measured by the year of study. Statistic also shows significantly difference at .05. In particular, readiness score of e-Learning among the first to the fourth year of study shows significantly different while the readiness of the second to the fourth year of study reveals no significant different in this case.
การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมในการเรียนด้วยอีเลิร์นนิ่งของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และเปรียบเทียบความพร้อมในการเรียนด้วย อีเลิร์นนิ่งของนักศึกษาพยาบาลในแต่ละชั้นปี ประชากรทั้งหมดมีจำนวน 358 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยครั้งนี้ คือแบบประเมินความพร้อมในการเรียนด้วยอีเลิร์นนิ่ง 6 ด้าน (Watkins, Leigh and Triner, 2004) จำนวน 27 ข้อ ได้แก่ ด้านการเข้าถึงเทคโนโลยี ด้านความสัมพันธ์และทักษะออนไลน์ ด้านแรงจูงใจ ด้านภาพและเสียงออนไลน์ ด้านการอภิปรายบนอินเทอร์เน็ต และด้านสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จ ซึ่งนำไปทดลองใช้กับกลุ่มที่คล้ายคลึงกับกลุ่มประชากรในแต่ละชั้นปีจำนวน 30 คน หลังจากนั้นนำไปหาความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ .809 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพร้อมด้านการเข้าถึงเทคโนโลยี ด้านความสัมพันธ์และทักษะออนไลน์ ด้านแรงจูงใจ ด้านภาพและเสียงออนไลน์ ด้านการอภิปรายบนอินเทอร์เน็ต และด้านสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จอยู่ในระดับมาก และมีความพร้อมในการเรียนด้วยอีเลิร์นนิ่งโดยรวมอยู่ในระดับมากเช่นกัน เมื่อเปรียบเทียบความพร้อมในการเรียนด้วยอีเลิร์นนิ่งของนักศึกษาพยาบาลในแต่ละชั้นปี พบว่าชั้นปีที่แตกต่างกันมีผลต่อความพร้อมในการเรียนด้วยอีเลิร์นนิ่งที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยเมื่อพิจารณารายคู่ พบว่านักศึกษาชั้นที่ 1 มีความพร้อมในการเรียนที่แตกต่างกันกับนักศึกษาชั้นที่ 2, 3 และ 4 ส่วนนักศึกษาชั้นที่ 2, 3 และ 4 พบว่าความพร้อมในการเรียนด้วยอีเลิร์นนิ่งไม่มีความแตกต่างกัน