การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ในโครงการ ThaiLIS ของบุคลากรห้องสมุดในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ

Utilization of ThaiLIS Online Database by the Practitioners of Higher Education Institutes Libraries

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้เพื่อศึกษาการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ในโครงการ ThaiLIS ของบุคลากรห้องสมุดในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ในด้านวัตถุประสงค์การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ กลวิธีในการสืบค้น รูปแบบการสืบค้น และความถี่ของการเข้าใช้ ความพึงพอใจในการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ในโครงการ ThaiLIS ของบุคลากรห้องสมุดในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ปัญหา และอุปสรรคการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ในโครงการ ThaiLIS ของบุคลากรห้องสมุดในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรของห้องสมุดในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จำนวน 70 คน                ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรที่ใช้ฐานข้อมูลอยู่ในช่วงอายุ 35-44 ปี มากที่สุด ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาโท เข้าใช้บริการจากที่ทำงาน โดยความถี่ในการเข้าใช้ประมาณ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ประสบการณ์ในการใช้ฐานข้อมูล 4-6 ปี วัตถุประสงค์ในการเข้าใช้ส่วนใหญ่ เพื่อให้บริการแนะนำวิธีการสืบค้นสารสนเทศ บริการตอบคำถาม ทักษะในการใช้ฐานข้อมูล คือ ได้รับการฝึกอบรมโดยวิทยากรภายนอกหน่วยงาน ช่วงระยะห่างที่เคยได้รับการอบรมการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ คือ 1 ปี บุคลากรส่วนใหญ่คิดว่าจำเป็นต้องมีการฝึกอบรมเพื่อทราบถึงวิธีการใช้งานของฐานข้อมูลออนไลน์ในโครงการ ThaiLIS ที่มีการพัฒนา และปรับปรุงวิธีใช้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงรูปแบบ และหน้าจอการเข้าใช้ การส่งเสริมการให้บริการของบุคลากรคือ แจกเอกสารเผยแพร่ที่ได้มาจากผู้จัดจำหน่าย ฐานข้อมูล ที่มีระดับการใช้มากที่สุด คือ ฐานข้อมูล ProQuest Dissertations & Theses ประเภทการสืบค้นที่นิยมมากที่สุด คือ Basic Search ปัญหาการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ของบุคลากร คือ ขาดทักษะด้านภาษาต่างประเทศ ส่วนปัญหาด้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และเครือข่าย อยู่ในระดับน้อย ปัญหาที่พบน้อยที่สุด คือ คอมพิวเตอร์มีสมรรถนะต่ำ การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการใช้บริการของบุคลากร คือ การประชาสัมพันธ์แนะนำการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ แนวโน้มการพัฒนาบริการฐานข้อมูลออนไลน์ คือ พัฒนาความรู้ของบรรณารักษ์ผู้ให้บริการฐานข้อมูลออนไลน์

Abstract

        This research investigates the utilization of the Thai Library and Information Science (LIS) online database by practioners in libraries at public institutions of higher education in the aspects of the objectives of using online database, the methods of retrieval, the patterns of retrieval, and the frequency of use; the levels of satisfaction with the use of the Thai LIS online databases by the practitioners under study; and problems in and obstacles to the utilization of Thai LIS online databases by the practitioners under study. The sample population consisted of 70 practitioners in libraries at public institutions of higher education. 
       The practitioners who used the online databases were most frequently found to be between 35-44 years of ages. Most of them were holders of a master’s degree. They used the online databases services at workplaces. The frequency of use was approximately two to three times daily. They had experienced using the online databases for a period of between four and six years. The skill they evinced in using the online databases were based on training received from speakers from outside the institutions at which they worked. The interval of time lapsed since being trained in online database use was one year. In providing services offered by the practitioners, the distribution of public relations documents obtained from database distributors was the most frequently provided service. The database exhibiting the highest level of use was the ProQuest Dissertations and Theses database. The type of retrieval method most preferred by the practitioners was Basic Search. The researcher found that the problem experienced at the highest level by the practitioners was a lack of foreign language skills. The problems regarding computer equipment and networks were evinced at a low level, while the least frequestly found problem was the problem of the computer capacity. In regard to organizing activities promoting services provided by the practitioners, most frequent was the activity of conducting public relations in which the use of the online  database was recommended. The trend in developing online database services was found to involve the fostering of practitioner knowledge required to provide online database services.

ดาวน์โหลด Full Paper