แนวทางการพัฒนาระบบการจัดการความรู้และการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยรังสิต

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานการจัดการความรู้ด้านคุณลักษณะของบุคลากร ด้านกระบวนการ และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) ศึกษาปัญหาการดำเนินงานการจัดการความรู้ และ 3) พัฒนาแนวทางการพัฒนาระบบการจัดการความรู้และการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการจัดการความรู้ ของมหาวิทยาลัยรังสิต วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ที่รับผิดชอบงานด้านการจัดการความรู้ของคณะ สำนักงานและสถาบันที่มีการดำเนินงานจัดการความรู้ รวมจำนวน 34 หน่วยงาน การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ มีการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า  
        1. มหาวิทยาลัยรังสิต มีสภาพการดำเนินงานการจัดการความรู้ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.96) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีการดำเนินงานในด้านคุณลักษณะของบุคลากรอยู่ในระดับมาก ( =3.88) ด้านกระบวนการจัดการความรู้อยู่ในระดับปานกลาง( = 2.72) ส่วนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในระดับน้อย ( = 2.41)
        2. มหาวิทยาลัยรังสิต ประสบปัญหาการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ( = 1.73) ปัญหาที่ประสบในระดับปานกลาง อาทิ บุคลากรมีภาระงานประจำมากทำให้ไม่มีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมการจัดการความรู้ ( = 3.44) รวมทั้งขาดระบบที่จำเป็นสำหรับการจัดเก็บความรู้ ( = 2.82) เป็นต้น
        3. แนวทางการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ และการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยรังสิต พบว่า จำเป็นต้องดำเนินโครงการที่สำคัญในแต่ละด้านดังนี้ 1) แนวทางด้านการพัฒนาคุณลักษณะของบุคลากร จำเป็นต้องมีโครงการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม และโครงการพัฒนาทักษะการสอนงานและผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้สำหรับหัวหน้างาน 2) แนวทางด้านการพัฒนากระบวนการจัดการความรู้ จำเป็นต้องมีโครงการจัดทำคู่มือการจัดการความรู้ โครงการกำหนดความรู้หลักที่ตอบสนองวิสัยทัศน์และภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยรังสิต โครงการถอดความรู้และประสบการณ์ที่มีความเป็นเลิศในการทำงาน และโครงการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นต้น 3) แนวทางด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการจัดการความรู้ จำเป็นต้องมี
โครงการพัฒนาฐานข้อมูลทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ โครงการพัฒนาคลังความรู้เชิงประสบการณ์โครงการจัดตั้งชุมชนนักปฏิบัติออนไลน์ และโครงการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการสื่อสารการจัดการความรู้ เป็นต้น และ 4) แนวทางด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับเพิ่มพูนการเรียนรู้ จำเป็นต้องมีโครงการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ด้านการจัดการความรู้ โครงการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ดิจิตอล และโครงการพัฒนาเว็บท่าความรู้ เป็นต้น
 

Abstract

        The purpose of this research were to study 1) state of knowledge management systems in personal characteristics, knowledge management process and information technology 2) the knowledge management problems and 3) develop knowledge management systems and information technology for knowledge management guidelines of Rangsit University. The method of the research is quantitative research by utilizing questionnaire in order to compile data from the representative group who is responsible for knowledge management of faculties, offices or any colleges 34 sectors. In the study, Statistic processed program, frequency, percentage, average, and standard deviation are used to analyze
the data. The result of the study is as follow;
        1. In overall, the state of knowledge management of Rangsit University is in a moderate level ( = 2.96). When considering each factors, the state of knowledge management in personal characteristics is in high level ( =3.88) whereas the process of knowledge management is in a moderate level ( = 2.72) and information technology is a low level ( = 2.41).
        2. Rangsit University has obstacle regarding knowledge management in a low level ( = 1.73). For example of problem which is in low level ( = 3.44), is personnel has too many regular responsibility therefore they do not have time to participate knowledge management activity and the systems of knowledge management is insufficient ( = 2.82), etc.
        3. The result shows that Rangsit University is indispensable to have teamwork development as well as teaching and learning development for supervisor’s project. In the same way, it is necessary to arrange the project that provide handbook for knowledge management, project about principle knowledge related to vision and mission of the University,sharing best practices knowledge and experience for working project, and sharing knowledge project, etc. For information technology development, it is essential to set database development for expert project, Knowledge and Experience Center Project, Online Community Project, and Website Developing for Knowledge Management Communication Project, etc. Finally, Online Lesson Development for Knowledge Management Project,

ดาวน์โหลด Full Paper