ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับนวัตกรรม M-Payment ของกลุ่มผู้ใช้งานภายในกรุงเทพมหานคร

Factors Influencing Technology Acceptance on M-Payment Services of users in Bangkok Metropolitan Region

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับนวัตกรรม M-Payment ของกลุ่มผู้ใช้งานภายในกรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้   1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของลักษณะประชากรศาสตร์ต่อปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ M-Payment   2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ประโยชน์ในการใช้ M-Payment   3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับประโยชน์จากการใช้งาน รวมถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้งานและการตัดสินใจใช้งาน M-Payment  โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่เคยใช้งานระบบชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ จำนวน 390 คน โดยใช้วิธีการ แจกแบบสอบถามผ่านระบบออนไลน์

      ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้ใช้งานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 36-45 ปี อยู่ในระดับปริญญาตรี รายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 25,000 บาท และส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นพนักงานเอกชน ในด้านพฤติกรรม การใช้งาน Mobile Payment พบว่าส่วนใหญ่นิยมใช้ประเภทบริการแบบ การโอนเงิน คิดเป็นร้อยละ 72.6 จำนวนเงินที่ใช้โอนแต่ละครั้ง ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 1,001–10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 50.3 ช่วงเวลา ที่ใช้บริการส่วนใหญ่ในช่วง 12.01–18.00 น. คิดเป็นร้อยละ 51.8 สถานที่ใช้งานการบริการส่วนใหญ่ ใน สถานที่พักส่วนตัว คิดเป็นร้อยละ 49.7 ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อระดับพฤติกรรมการตัดสินใจใช้งาน Mobile Payment พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดเห็นอยู่ระดับมาก สามารถเรียงลำดับได้ดังนี้ ลำดับที่ 1 การรับรู้ถึงประโยชน์จากการใช้งาน (x̄=4.36, S.D. =0.58) ลำดับที่ 2 ความตั้งใจในการใช้งาน (x̄=3.94, S.D.x̄ =0.7  ลำดับที่ 3 การรับรู้ความง่ายจากการใช้งาน (x̄=3.86, S.D. =0.73) ลำดับที่ 4  ความสมัครใจใช้งาน (x̄=3.70, S.D. =0.86)  ลำดับที่ 5 อิทธิพลทางสังคม (x̄=3.66, S.D. =0.70)  ลำดับที่ 6 ความเชื่อมั่น (x̄=3.63, S.D. =0.67)   ลำดับที่ 7 การรับรู้ความปลอดภัย (x̄=3.57, S.D. =0.62)  ลำดับที่ 8 การรับรู้ความเสี่ยง (x̄=3.22, S.D. =0.61)  ปัจจัยการรับรู้ประโยชน์จากการใช้งานที่ส่งผลอิทธิพล  ต่อการตัดสินใจมากที่สุดได้แก่ปัจจัยการรับรู้ความปลอดภัย ความเชื่อมั่น การรับรู้ความเสี่ยง อิทธิพลทางสังคม (B=37.5%, 34.9%, 18.9%, 16.4%) ตามลำดับ และปัจจัยความตั้งใจในการใช้งานได้แก่ปัจจัย การรับรู้ประโยชน์จากการใช้งาน ความสมัครใจใช้งาน การรับรู้ความง่ายจากการใช้งาน อิทธิพลทางสังคม (B=68.3%, 51.0%, 46.4%, 24.1%) ตามลำดับ 

Abstract

        This research is the study of factors that influence the acceptance of the innovation of   M-Payment from users in Bangkok. The objectives of this research are: 1) To study the relationship of demographic characteristics to the factors that influence the use of M-Payment  2) To study the relationship between various factors Influencing the perceived benefits of using M payment   3) To study the factors that influence the use of benefits Including factors that influence user behavior and usage decisions M-payment. The number of  390 questionnaires are collected by online questionnaires

      The Research has found that the majority of users are females aged 36-45 years in the undergraduate monthly income less than 25,000 baht and most professional private office. As for the behavior of using Mobile Payment, it is found that most of the money transfer services are 

      72.6%, the amount of money transferred each time. Most of them are in the range of 1,001- 10,000 baht or 50.3%. Most of the time of use is between 12.01–18.00 hrs. Or 51.8%. Most service locations are in private residence accounting for 49.7 percent. For the factors affecting the mobile payment decision behavior, the majority of the respondents have high level of opinions. The level of their opinions can be sorted as follows:  No. 1 Perceived the benefits from use (x̄=4.36, S.D. =0.58),   No.2 Intention to use (x̄=3.94, S.D. =0.7),   No.3 Perceived ease of use  (x̄=3.86, S.D. =0.73,   No.4 Voluntary use (x̄=3.70, S.D. =0.86),   No.5 Social Influence (x̄=3.66, S.D. =0.70),   No.6 Trust (x̄=3.63, S.D. =0.67),    No.7 Perceived Security (x̄=3.57, S.D. =0.62) and No.8 Perceived risk (x̄=3.22, S.D. x̄=0.61). Factors perceived benefits that result influenced the decisions are some of the most recognized security factors. Confidence in risk perception. The influence of social (B = 37.5% 34.9%, 18.9%, 16.4%) respectively and the intention to use include the factors. The perceived benefits from using voluntary use, feedback from usage. The influence of social (B = 68.3% 51.0%, 46.4%, 24.1%,), respectively

ดาวน์โหลด Full Paper