พฤติกรรมการแสวงหาและความต้องการสารสนเทศในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

Information-Seeking Behaviors and Information Needs in the Performance of Fiscal Policy Office Personnel

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) เปรียบเทียบพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ ในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในด้านระดับตำแหน่งและประสบการณ์ทำงาน และ (2) เปรียบเทียบความต้องการสารสนเทศการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเศรษฐกิจการคลังด้านระดับตำแหน่งและประสบการณ์ทำงาน วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เก็บข้อมูลในช่วงเดือนธันวาคม 2561 จำนวน 144 คน แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย สถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐานการวิจัย ใช้เทคนิคการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (one-way ANOVA) สถิติ F-test การทดสอบความแตกต่างรายคู่วิธี Least Significant Difference (LSD)

         ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรสำนักงานเศรษฐกิจการคลังส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สังกัดสำนักนโยบายภาษีมากที่สุด ระดับตำแหน่งปฏิบัติการมากกว่าตำแหน่งอื่น และมีประสบการณ์การทำงานอยู่ในช่วง 1-5 ปีมากที่สุด  เมื่อพิจารณาพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ พบว่า บุคลากรสำนักงานเศรษฐกิจการคลังมีการแสวงหาข้อมูลสารสนเทศจากแหล่งสารสนเทศอินเทอร์เน็ตมากที่สุด ขณะเดียวกันบุคลากรสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเข้าใช้บริการห้องสมุดสำนักงานเศรษฐกิจการคลังสูงกว่า 90% สารสนเทศที่มีอยู่ในห้องสมุดนั้นมีจำนวนน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการ เป็นปัญหาและอุปสรรคสำหรับการเข้าใช้ห้องสมุด  ขณะเดียวกันพฤติกรรมการแสวงหาแหล่งสารสนเทศของบุคลากรสำนักงานเศรษฐกิจการคลังค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเลือกใช้แหล่งสารสนเทศประเภทบุคคลมากที่สุดซึ่งมีความต้องการสารสนเทศค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านภาษาของสารสนเทศมีค่าเฉลี่ยสูงเป็นอันดับแรก

          การทดสอบสมมติฐานการวิจัย กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พบว่า  (1) บุคลากรสำนักงานเศรษฐกิจการคลังที่มีระดับตำแหน่งต่างกัน มีพฤติกรรมการแสวงหาแหล่งสารสนเทศและ                  ความต้องการสารสนเทศในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ และ (2) บุคลากรสำนักงานเศรษฐกิจการคลังที่มีประสบการณ์ทำงานแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการแสวงหาแหล่งสารสนเทศและความต้องการสารสนเทศในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องสมมติฐานที่ตั้งไว้

Abstract

       In this research article, the researcher compares (1) information-seeking behaviors in the performance of Fiscal Policy Office personnel in the aspects of the level of the position held and work experience; and (2) information needs for the performance of the personnel in the aspects of the level of the position held and work experience. 

       In this survey research inquiry, the sample population consisted of 144 personnel employed at the Fiscal Policy Office. 

       Employing a questionnaire as a research instrument, the researcher collected germane data in December 2018.

       Utilizing techniques of descriptive statistics, the researcher analyzed the data collected in terms of percentage, frequency, mean (M), and standard deviation (SD). Hypothesis testing was conducted using the one-way analysis of variance (ANOVA) technique. Moreover, the F-test 

       was used to test differences, while the least significant difference (LSD) test was utilized when differences between populations became significant so as to identify the populations whose Ms differed at statistically significant levels

      Findings are as follows:

      The highest proportions of the sample population were females employed by the Tax Policy Bureau at the highest level. Operational positions were considered to be at a higher level than other positions. Work experience most frequently ranged between one and five years.

       When considering information-seeking behaviors, it was found that the personnel exhibited information-seeking behaviors in accessing the Internet at the highest level. The personnel used the services of the library of the Fiscal Policy Office at a level higher than 90 percent. However, the information available in the library was minimal and was thus insufficient for their needs. This factor brought in its wake problems and obstacles in using the library.

       The M for the information-seeking behaviors of the personnel was overall exhibited at a moderate level. They most frequently used information sources in the form of individuals. The M for their need for information was overall evinced at a high level. When considered in each aspect, it was found that the aspect of the language of the information displayed the highest M and thus ranked first.

       Insofar as concerns hypothesis testing carrying results at the statistically significant level of .05, the following was found:

      (1) The personnel who differed in the level of the position held exhibited concomitant differences in information-seeking behaviors and information needs in the course of performance. This finding was in consonance with the set hypotheses postulated for this investigation

      (2) The personnel who differed in work experience did not evince parallel differences in information-seeking behaviors and information needs in the execution of performance. This finding was incompatible with the set hypotheses posited for this inquiry.

ดาวน์โหลด Full Paper