ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกศึกษาต่อที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีศึกษา นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2566

The Decision-Making Factors for choosing to study at the Faculty of Engineering for Study at the Faculty of Engineering, Kasetsart University Case study: First-Year Undergraduate Students of the Faculty of Engineering, Academic Year 2023

บทคัดย่อ

     การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ และเพื่อวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ของการรับนิสิตใหม่ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ซึ่งสารสนเทศและข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนเพื่อพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การให้บริการที่มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับความต้องการของผู้ที่จะเข้ามาศึกษาต่อ โดยศึกษาจากประชากรคือ นิสิต ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 1,237 คน และมีนิสิตตอบแบบสอบถาม 204 คน คิดเป็น ร้อยละ 16.49 เป็นการวิจัยเชิงสำรวจด้วยการใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ประกอบด้วยส่วนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 ปัจจัยการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ และส่วนที่ 3 ความต้องการและความคาดหวัง โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย  อายุ 17-19 ปี สอบเข้าระบบ TCAS รอบ 3 Admission พื้นฐานการศึกษาจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 สาขาวิชาที่ผู้ตอบแบบสอบถามมากที่สุดคือ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล ภูมิลำเนาส่วนใหญ่ อยู่กรุงเทพมหานคร และพักอาศัยบ้านตนเอง ผู้ปกครองส่วนใหญ่รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ  มีรายได้ของครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 60,000 บาท
       ผลการวิจัยพบว่า ด้านที่มีปัจจัยต่อการตัดสินใจอันดับแรกคือ ด้านภาพลักษณ์  (x̅=4.41) รองลงมา ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน (x̅=4.36) ด้านบุคลากร (x̅=4.29) ด้านกายภาพ  (x̅=4.27)  ด้านการประชาสัมพันธ์ข้อมูล/ข่าวสาร ( x̅=4.22) ด้านค่าใช้จ่ายในการศึกษา (x̅=4.13) และด้านอิทธิพลและแรงจูงใจที่มีผลต่อการตัดสินใจ ( x̅=3.88) ตามลำดับ และหากพิจารณาเป็นรายข้อระดับความเห็นต่อปัจจัยการตัดสินใจมากที่สุด อันดับแรกคือ หลักสูตรและคณะได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาที่มีความน่าเชื่อถือ ( x̅=4.59) รองลงมาคือ เป็นที่ยอมรับของสังคมและผู้ประกอบการ ( x̅=4.57) และเชื่อว่าจบแล้วจะมีงานทำ มีเงินเดือนสูง และมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ( x̅=4.54) ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ มก. ยังเป็นที่นิยมของนักเรียนที่จะเข้ามาศึกษาต่อ แต่คณะควรรักษาอันดับความมีชื่อเสียงให้อยู่ในกลุ่ม TOP 10 ของประเทศ การเพิ่มหลักสูตรที่ทันสมัย  การเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ต่างๆ ให้เข้าถึงนักเรียนเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเพื่อดึงดูดให้นักเรียนที่จะศึกษาต่อมีความสนใจและเป็นตัวเลือกในลำดับต้นๆ  เพื่อเพิ่มจำนวนนิสิตที่เข้ามาศึกษาต่อตามจำนวน ที่ตั้งเป้าหมายไว้

Abstract

        This research aims to investigate the factors influencing students' decisions to choose to study at the Faculty of Engineering, Kasetsart University (KU), and to analyze the results of new student admissions. The information and recommendations obtained from this research will serve as basic data for planning curriculum development, teaching and learning management, and providing services that are effective and meet the needs of future students. The research was conducted using a survey method with 1,237 first-year undergraduate students of the Faculty of Engineering, KU. A total of 204 students responded to the survey, representing 16.49% of the sample population. The survey consisted of three parts: 1) respondent profile, 2) decision-making factors for choosing to study at the Faculty of Engineering, and 3) needs and expectations. Most respondents were male, aged 17-19 years old, and admitted through round 3 of the TCAS system. Their educational background was Mattayomsuksa 6 (Grade 12) in the Science-Math program. The most popular major was Mechanical Engineering. Most students were from Bangkok and lived in their own homes. Most parents’ careers were government services or state-enterprise employees, with an average monthly family income of over 60,000 baht.
        The research results found that the factors affecting decision making for choosing to study at the Faculty of Engineering, KU, were : The top factors was: Faculty Image ( x̅=4.41), the second was Curriculum and teaching and learning management (x̅=4.36), Faculty staffs ( x̅=4.29), Physical facilities (x̅=4.27), Public relations and information ( x̅=4.22), Education costs ( x̅=4.13), Influence and motivation ( x̅=3.88) respectively.  The top three most important factors were: the curriculum and faculty are accredited by educational certification body ( x̅=4.59), well-recognized by society and employers (x̅=4.57), and graduates confident that when they finish, they will have a good job, high salary, and getting good career progression ( x̅=4.54). Faculty should maintain the TOP 5 reputation ranking of the country by adding a modern curriculum, providing important information to students for decision making with the effective various public relations methods to attract students who will choose their studies in university and to increase the number of students coming to study according to the target num

ดาวน์โหลด Full Paper